Tuesday, April 21, 2009

การต่อสาย LAN

การต่อสายของระบบ LAN จะมีสองแบบหลักๆคือ Bus และ Star ถ้าจะต่อแบบประหยัดก็ใช้แบบ Bus เพราะไม่ต้องใช้ HUB แต่ว่าหากเครื่องในระบบมากอาจจะเกิดปัญหาจุกจิกได้ เนื่องจากสายหลุด หรือสายขาดเพียงจุดใดจุดหนึ่งก็จะทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด เราลองมาดูเลยว่าต่อยังไง

ดาวโหลดวิ็๊ธีทำ

Read More

การแก้ไขและซ่อมคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง

ถ้าคุณมีปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ ลองตรวจสอบปัญหาจากหัวข้อเหล่านี้ก่อน ไม่แน่นะ ท่านอาจพบวิธีการแก้ไขด้วยตนเอง ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ในการซ่อมคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งพอสรุปปัญหาได้ 2 ลักษณะ คือ ปัญหาที่เกิดจาก Software และปัญหาที่เกิดจาก hardware

ดาวโหลดรายละเอียดเพี่มเตีม

Read More

การลดการค้นหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง

บางครั้งวินโดวส์ของคุณมีอาการบูตช้ากว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะวินโดวส์พยายามหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ในกรณีที่ Primary IDE ของคุณมีฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว แต่วินโดวส์จะพยายามหาฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ขณะที่กำลังบูต ทำให้เสียเวลาเพิ่มในการบูต
วิธีการแก้ไข ให้เข้าไปที่ Device Manager แล้วไปที่ IDE/ATAPI Controllers เลือกที่ Primary IDE คลิ้กขวาแล้วเลือก Properties จะมี (ใส่รูป 01.bmp) หน้าต่าง properties ขึ้นมาให้ไปที่แท็บ Advanced Settings ที่ช่อง Device 1 ซึ่งในที่นี้คือไดรฟ์ตัวที่ 2 บน IDE 1 ซึ่งไม่มีอยู่จริง ให้แก้ที่ Device type เป็น none (ใส่รูป 02.bmp) แล้วกดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน ถ้าที่ Secondary IDE มีไดรฟฺที่ว่างอยู่ก็ให้ทำอย่างนี้ด้วย

Read More

เอาโลโก้ตอนบูตออก

เราสามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้ โดยเอาโลโก้ตอนบูตออก แต่จะเพิ่มความเร็วได้เล็กน้อย วิธีการให้เข้า System Configuration Utility เลือก boot.ini เลือกบรรทัดที่มี /fastdetect แล้วเลือก /NOGUIBOOT เสร็จแล้วกดปุ่ม OK เราสามารถยกเลิกได้โดยการติ๊กเอาเครื่องหมายถูกออก

Read More

เอาเซอร์วิสที่ไม่จำเป็นออก

เซอร์วิสจะเป็นส่วนของโปรแกรมที่ทำหน้าที่ต่างๆ ของวินโดวส์ โดยทำงานอยู่แบ็กกราวนด์ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่เห็นโปรแกรม แต่เซอร์วิสเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาในการเปิดตอนเปิดเข้าวินโดวส์เหมือนกัน และก็จะใช้ทรัพยากรของเครื่องไป บางเซอร์วิสเป็นสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็เปิดขึ้นมาหมดด้วย ดังนั้น การเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ก็จะเป็นการลดเวลาในการบูตและประหยัดทรัพยากรของเครื่องไปได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ให้ไปที่ System Configuration Utility แล้วไปที่แท็บ Services กดเลือก Hide all microsoft services ออกก่อน ก็จะเหลือแต่เซอร์วิสที่เป็นโปรแกรมที่เราติดตั้งลงไปใหม่ ให้เลือกเอาส่วนที่คิดว่าไม่ต้องการออก แล้วกดปุ่ม Apply ส่วนเซอร์วิสของไมโครซอฟท์ซึ่งมีอยู่มากมายนั้น คงจะต้องเข้าไปอ่านกันเองนะครับ ว่าจะใช้ตัวไหน ตัวไหนไม่ใช้ โดยเข้าไปที่ Services แล้วเลือก Start - Run ให้พิมพ์ Services.msc ก็จะมีโปรแกรมขึ้นมา ที่นี่จะมีเซอร์วิสทุกตัวให้อ่านกันจนตาลายเลยก็ว่าได้
และการดูตรงส่วนที่แสดงคำอธิบายของแต่ละเซอร์วิส

Read More

ลดโปรแกรมที่โหลดตอนเริ่มต้นบูตเข้าวินโดวส์

ขั้นตอนนี้แหละที่ลดโปรแกรมที่ขึ้นมาเป็นแผงที่ทาส์กบาร์ ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาในการบูตและเสียทรัพยากรของเครื่องโดยที่บางครั้งเราไม่ได้ใช้มัน ปกติโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ในหลายๆ ที่ เช่น ในรีจิสทรี ใน Startup การเข้าไปลบ ถ้าต้องเข้าลบตรงๆ ก็อาจจะเสียเวลา แต่วินโดวส์ก็ได้ให้ทูลในการเข้ามาช่วย นั่นคือโปรแกรม System Configuration Utility หรือที่รู้จักในชื่อ MsConfig
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมให้ไปที่ Start - Run แล้วพิมพ์ msconfig จากนั้นกด Enter

หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วให้ไปที่แท็บ Startup ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโปรแกรมทั้งหมดที่โหลดขึ้นมาตอนเข้าวินโดวส์ ไม่ว่าจะเขียนไว้ที่ไหน ตรงนี้เราสามารถพอเดาชื่อโปรแกรมได้ ถ้าไม่ต้องการโปรแกรมใดก็เอาเครื่องหมายถูกข้างหน้าโปรแกรมออก เช่น ICQ, HotSync Manager, MSN Messenger ซึ่งเราไม่ได้มีความเป็นต้องโหลดทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

หลังจากเลือกโปรแกรมที่ไม่ต้องการออกแล้วให้กด OK ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่า จะรีตาร์ทเลยหรือไม่? ตรงนี้แล้วแต่ว่าจะทำงานต่อหรือจะรีสตาร์ทเลยก็ได้ หลังรีสตาร์ทเข้ามาวินโดวส์แล้วจะไม่มีโปรแกรมเหล่านี้โหลดขึ้นอีก

Read More

ปรับแต่งไบออส บู๊ตเครื่องให้เร็วทันใจ

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไบออสเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่สุดที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การเข้าไปปรับแก้เกี่ยวกับไบออสก็จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้บูตเร็วขึ้นได้
ขั้นตอนการเข้าไปแก้ไขไบออส ให้กดคีย์ Delete หลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คีย์ Delete อยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็ลองมองดูที่หน้าจอตอนบูตว่าต้องกดคีย์อะไรเพื่อเข้าไปแก้ไขไบออส หลังจากเข้าไปสู่หน้าไบออสเซตอัพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือล้วนๆ ให้เข้าไปหาสิ่งต่อไปนี้แล้วแก้ไขตาม


- Turbo Frequency ให้เลือก ENABLE คำสั่งนี้ไม่ได้มีทุกเมนบอร์ด แต่ถ้ามีก็ให้เอนเนเบิลไว้ จะทำให้ความเร็วบัสเร็วขึ้นประมาณ 2.5% ซึ่งจะทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบเร็วขึ้น (เป็นการโอเวอร์คล็อกแบบไม่มากนัก)

- IDE Hard Disk Detection สั่งให้ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม จากนั้นก็บันทึกลงไบออส จะทำให้ความเร็วในการบูตเร็วขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับที่การตั้งเป็น Auto แล้วต้องตรวจสอบทุกครั้งที่บูต

- Standard BIOS Setup Menu เข้าไปเช็คดูอีกครั้งว่าฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไม่ได้อยู่ในภาวะที่เป็น Auto

- Quick Power On Self Test (POST) ให้ ENABLE ไว้จะทำให้บูตเร็วขึ้น

- Boot Sequence ให้เลือกเป็น C นำหน้า ถ้าไม่ต้องการบูตจากแผ่นดิสก์ จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มบูตจากแผ่นดิสก์ก่อน

- Boot Up Floppy Seek ให้ DISABLE ไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแผ่นตอนเริ่มบูต

Read More

การอัพเกรด BIOS

ไบออสคือโปรแกรมเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กตามโปรแกรม ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ การอัพเกรดไบออสของคอมพิวเตอร์ให้ได้โปรแกรมที่ใหม่ที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้การทำงานของเมนบอร์ดดีขึ้น และบางครั้งอาจทำให้บูตเร็วขึ้นอีกด้วย


ขั้นตอนการอัพเกรดไบออสนั้นให้ดูที่คู่มือเมนบอร์ดว่าใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ ก็ไปที่ส่วนดาวน์โหลด โดยจะต้องดาวน์โหลดทั้งไฟล์ที่ใช้ในการแฟลชไบออส และไฟล์โปรแกรมของไบออส เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้แตกไฟล์ออกมา โดยจะเอาไว้เก็บที่ดีที่สุดคือที่รูทของ C: จากนั้นให้บูตจากแผ่นดิสก์แล้วกด Shift + F5 ตอนบูตเพื่อที่จะได้บูตแบบไม่ได้โหลดอะไรมาเลย แล้วที่ดอสพร็อมพ์ ให้พิมพ์ C: แล้วกด Enter เพื่อเข้าไดรฟ์ C: แล้วพิมพ์ execute.exe bios.img โดย execute.exe จะแทนชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการแฟลช ให้พิมพ์ให้ตรงกับชื่อโปรแกรม bios.img จะแทนตัวไฟล์ของโปรแกรม โดยพิมพ์ให้ตรงกับชื่อ จากนั้นกดคีย์ Enter อาจจะมีการถามว่าต้องการแฟลชจริงหรือไม่? ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแฟลช ใช้เวลาระยะหนึ่งก็เสร็จ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะถ้ามีการผิพลาด เช่น ไฟฟ้าดับ ก็อาจทำให้เมนบอร์ดเสียไปได้ ดังนั้น ถ้ามี UPS ก็คงจะดี เมื่อแฟลชเสร็จแล้วก็ให้รีบูตใหม่ ถ้าบูตเข้าก็แสดงว่าแฟลชเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเวอร์ชันและวันที่ของไบออสที่ได้แฟลชเข้าไปใหม่ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนไป

Read More

การปรับแต่ง Task Bar

ส่วนของ Task Bar ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงการทำงานของระบบ ซึ่งเราสามารถที่จะทำการปรับแต่งให้ทำงานหรือแสดงผลตามที่เราต้องการได้ เช่นการให้ Task Bar ซ่อนตัวเองในขณะที่ไม่ใช้งาน การเพิ่มหรือลบรายการออกจากเมนู Start การลบข้อมูลใน Document เป็นต้น

ดาวโหลดเพี่มเตีม

Read More

การเพิ่มความเร็วให้กับwinXP

ในบางครั้งเราเปิดใช้งานโปรแกรมวินโดว์เอ็กพีแล้ววินโดว์ทำงานช้ามากๆ ซึ่งเป็นผลมาจากไฟล์บางไฟล์ใน Folder prefetch อาจเสียหาย แต่เรามีวิธีการแก้ไขได้อย่างง่ายๆ ก็คือ
1. ให้เข้าไปที่ Folder c:\windows\prefetch
2. ให้ลบไฟล์ทุกไฟล์ใน Folder ทิ้งให้หมดครับ ด้วยคำสั่ง
- [Ctrl]+A เลือกทุกไฟล์
- [Del] ลบไฟล์
3. หลังจากลบทุกไฟล์ใน Folder "Prefetch" แล้ว ให้ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง หลังจาก Restart เสร็จแล้ว คุณก็จะพบว่าคอมฯ ของคุณทำงานได้รวดเร็วขึ้นพอสมควรเลยล่ะครับ

Read More

การปรับหัวอ่าน CD-Rom

วิธีการปรับหัวอ่าน CD-Rom บางรุ่นที่อ่านแผ่นบางแผ่นไม่ได้ โดยวิธีปรับหัว VR ใน Drive CD-Rom หรือที่เรียกกันว่า Variable Resist

สำหรับผู้ที่มี CD-Rom แต่ว่า Drive ของท่านไม่ สามารถอ่านแผ่นทองหรือแผ่น CD-R ได้ หรือว่าอ่านได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็แล้วแต่ครับ แต่กรณีที่ผมจะพูดถึงนี้ไม่รวมถึงอาการ ของ CD-Rom ที่มอเตอร์เสียนะครับ ผมจะทำเป็นขั้นเป็นตอนละกัน จะได้ดูกันง่ายๆ


รายละเอียดเพี่มเตีม ดาวโหลด

Read More

การสร้าง ลบ หรือจัดแบ่ง พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยใช้ fdisk

การจัดพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ คือขั้นตอนของการ จัดรูปแบบการใช้งานของ ฮาร์ดดิสก์ ก่อนขั้นตอนการ ฟอร์แมต โดยที่เราสามารถ ทำการแบ่ง ฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นขนาดต่าง ๆ เพื่อกำหนดให้ใช้งานได้ในแต่ละ Drive เพื่อความเป็นระเบียบของข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ขนาดเต็ม 8 GB อาจจะทำการแบ่งออกเป็น Drive C: ขนาด 3 GB เพื่อใช้สำหรับลง Windows และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ และทำการแบ่งเป็น Drive D: อีกส่วนหนึ่งโดยให้มีขนาดเป็น 5 GB เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้นชนิดของพาร์ติชั่น จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้FAT16 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ DOS, Windows 3.1 และ Windows 95 รุ่นแรก ๆ จะรองรับขนาดของพาร์ติชันได้สูงสุดที่ 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชั่นเท่านั้น FAT32 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows 97 OSR2 และ Windows 98 สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชันได้จาก 512 KB ไปจนถึง 64 GB ต่อ 1 พาร์ติชัน NTFS เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows NT ดังนั้น หากจะทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน ให้ใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่ขนาดมากกว่า 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชันก็ต้องทำการสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการจัดแบ่ง พาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์ แบบง่าย ๆ ก็คือโปรแกรม FDISK ที่มีมาให้กับ Windows 98 นั่นเอง โดยที่ต้องอย่าลืมว่า การใช้ FDISK จาก Windows 98 จะสามารถสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ได้ แต่ถ้าหากเป็น FDISK ที่มากับ Windows 95 หรือของ DOS จะสามารถทำได้เฉพาะระบบ FAT16 เท่านั้นไม่สามารถทำเป็น FAT32 ได้โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการจัดแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ ไม่จำเป็นต้องทำบ่อยนัก จะทำในกรณีที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ ชนิดของ FAT หรือกำหนดขนาดของพาร์ติชันใหม่เท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการจัดพาร์ติชันใหม่นี้ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย ดังนั้นต้องระวังหรือทำการเก็บสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ก่อน ในที่นี้จะยกตัวอย่างของการจัดการ และการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่ง FDISK ที่มีมากับ Windows เพื่อเป็นการเตรียมฮาร์ดดิสก์ก่อนขั้นตอนการลง Windows ต่อไป


รายละเอียดเพี่มเตีม ดาวโหลด

Read More

การปรับแต่งBIOS

BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อ เราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะ ฮาร์ดดิสก์ เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ Bios รับรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป

ดาวโหลด เพี้มเตีม กด

Read More

การติดตั้ง Driver ของ Internal Modem แบบที่เป็น PCI Card

มาดูตัวอย่างของการติดตั้ง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับระบบ Windows ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างของ Internal Modem ซึ่งเป็นแบบ Internal Modem หรือโมเด็มที่เป็น การ์ดเล็ก ๆ สำหรับเสียบในช่อง PCI Slot ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยจะแนะนำ ตัวอย่างการลง Driver และวิธีตรวจสอบการทำงานของโมเด็มแบบคร่าว ๆ


ดาวโหลด รายละเอียดเพี้มเตีม กด

Read More

สำหรับการติดตั้งไดรเวอร์การ์ดจอภาพ

การติดตั้งการ์ดจอภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อเราจะได้ปรับสีและความละเอียดให้มีขนาดที่เหมาะสมได้ เพราะโดยปกติแล้วการ์ดจอรุ่นใหม่ๆนั้นวินโดวส์มักจะไม่รู้จัก จึงสามารถแสดงผลได้แค่ระดับต่ำสุดเท่านั้นคือ จำนวนสี 16 บิต ที่ความละเอียด 640 x 480 (ยกเว้น Windows XP ที่สามารถปรับความละเอียดได้ที่ 800x600 หลังติดตั้งเสร็จ)

รายละเอียดเพี่มเึตีม ดาวโหลด

Read More