Sunday, March 29, 2009

Wallpapers Ad-9

Wallpapers Ad-9
40 JPG | 1600 X 1200 | 22.95 MB


Read More

Wallpapers Ad-10

Wallpapers Ad-10
40 JPG | 1600 X 1200 | 17,8 MB


Read More

Wallpapers full HD


Wallpapers full HD
46 JPEG | 1920х1080 | 31.88 MB

Read More

Saturday, March 28, 2009

ปรับแต่ง Registryให้แรมทำงานเร็วขึ้น

สำหรับวิธีนี้ จะเป็นการแก้ไขค่าในรีจิสตรีอีกตัวหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้ระบบโหลดเคอร์เนลใน Windows XP เอาไปเก็บไว้ในแรมเลย และวิธีการนี้จะช่วยทำให้มีประสิทธิภาพของแรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่! มีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่ง คือ เครื่องที่สามารถใช้งานได้จะต้องมีแรมไม่ต่ำกว่า 256 เมกะไบต์ขึ้นไปครับ จึงจะเห็นผล
ขั้นตอนการปรับแต่ง

1. เปิดโปรแกรม Registry Editor ขึ้นมา โดยคลิกที่ Start > Run > พิมพ์ Regedit กด OK

2. เข้าไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE > SYSTEM > CurrentControlSet > Control > SessionManager > Memory Management

3. ให้หาคีย์ดังต่อไปนี้ ที่หน้าต่างทางขวงมือ

"DisablePagingExecutive"=dword:00000000
"LargeSystemCache"=dword:00000000


4. เมื่อพบแล้วให้แก้ไขค่าตัวเลย โดยเปลี่ยนเลข 0 ตัวสุดท้ายให้เป็นเลข 1 หรือหากไม่มี ให้สร้างคีย์ใหม่ โดยตั้งค่าดังนี้

"DisablePagingExecutive"=dword:00000001
"LargeSystemCache"=dword:00000001

5. รีสตาร์ทเครื่องใหม่ เพื่อให้ค่าที่เปลี่ยนแปลงเริ่มทำงาน

6. หากต้องการให้ค่าต่างๆที่ปรับแต่งไว้กลับเป็นเหมือนเดิม ให้เปลี่ยนจาก 1 ไปเป็น 0

Read More

จังหวะสัญญาณ Beep Code ของไบออส ยี่ห้อ AMI

สำหรับจังหวะสัญญาณ Beep Code ของไบออส ยี่ห้อ AMI นั้นค่อนข้างมีส่วนคล้ายกับของไบออสยี่ห้อ Award อยู่พอสมควร มีความหมายดังนี้


เสียงดัง 1 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

เสียงดัง 2 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม

เสียงดัง 3 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม

เสียงดัง 4ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพ Timmer อาจต้องเปลี่ยนชิพหรือเมนบอร์ดใหม่

เสียงดัง 5 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่


เสียงดัง 6 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพควบคุมคีย์บอร์ดเสีย หรือไม่อาจเป็นที่ตัวคีย์บอร์ดเอง อาจต้องเปลี่ยนชิพ,เมนบอร์ด หรือคีย์บอร์ดใหม่

เสียงดัง 7 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของซีพียู อจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่

เสียงดัง 8 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดี
หรือไม่หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่

เสียงดัง 9 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่

เสียงดัง 10 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

เสียงดัง 11 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของหน่วยความจำแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบนเมนบอร์ด

เสียงดังยาว ๆ 1 ครั้ง แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอนการ Post เป็นปกติ

Read More

อยากใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็น จะต้องทำอย่างไรกันบ้าง

เริ่มต้นจากตรงนี้
หลาย ๆ คนที่ได้มีโอกาสใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ทำได้แค่เพียงใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น วันดีคืนดี เจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องเก่งมีอันต้องเกิดปัญหาขึ้นมา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร หากคุณพอจะรู้จักกับอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นบ้าง คงจะช่วยได้มากใช่ไหมครับ

อย่างไรจึงจะเรียกว่า ใช้คอมพิวเตอร์เป็น
คำถามแรกเลย คุณใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือยัง คงจะไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว ว่าอย่างไรเรียกว่าเป็นนะครับ ในความคิดเห็นของผม หากคุณสามารถบอกได้ทั้งหมดว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีสเปคอย่างไร ใช้ซีพียู ความเร็วเท่าไร ขนาดของแรม ชนิดของการ์ดจอและการ์ดเสียง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ ที่ใช้งานอยู่มีอะไรบ้าง และที่สำคัญมากคือ จากจุดเริ่มต้น ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณไม่มีอะไรอยู่เลย คุณสามารถที่จะลง Windows และโปรแกรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองจบครบ ตามที่ต้องการใช้งานได้ สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ตามความจำเป็น อาจจะไม่ต้องครบทุกอย่าง นั่นแหละ เรียกว่าใช้คอมพิวเตอร์เป็นในความคิดของผมครับ ลองสำรวจตัวคุณเองก่อน ว่าตอนนี้อยู่ในขั้นไหน ตรงไหนรู้แล้ว ตรงไหนยังไม่รู้ครับ

ลำดับการเริ่มต้นเรียนรู้คอมพิวเตอร์
มาดูลำดับการเริ่มต้นศึกษาหาความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก่อน ลองศึกษาทีละขั้นตอน อย่าข้ามนะครับ
1. ศึกษาการใช้งาน Windows ในเบื้องต้น โดยที่ควรจะสามารถใช้งานฟังค์ชันต่าง ๆ พื้นฐานได้พอสมควร
2. ศึกษาการใช้งาน ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีมากับเครื่อง เท่าที่คิดว่าจำเป็นและต้องการใช้งานเช่น internet, word, excel ฯลฯ
3. อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น printer, scanner, modem ที่มีต่ออยู่ ต้องรู้จักและใช้งานได้เต็มความสามารถ
4. สามารถทำการลงซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ และทำการ Uninstall ออกได้ เน้นที่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังไม่ถึงกับลง Windows ใหม่นะ
5. เริ่มต้นหัดลง Windows ด้วยตัวเอง จากการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ ลบข้อมูลออกทั้งหมดและลง Windows ได้จนครบ
6. สามารถจัดการกับ ฮาร์ดดิสก์ ได้ตามต้องการ เช่นการกำหนดขนาด การแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ ตามต้องการ
7. เริ่มต้น การรื้อ ถอด ประกอบ ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากสายไฟต่าง ๆ สายจอ สายเมาส์ ฯลฯ
8. เปิดฝาเครื่อง ลองสำรวจอุปกรณ์ภายใน และทำความรู้จักว่า ชิ้นไหนคืออะไร ใช้สำหรับทำอะไร (มองเฉย ๆ อย่าเพิ่งรื้อนะครับ)
9. ตรวจสอบสเปคเครื่องอย่างละเอียด ว่าใช้อุปกรณ์ยี่ห้ออะไร รุ่นไหน ขนาดเท่าไรบ้าง เป็นบทเรียนเริ่มต้นด้านฮาร์ดแวร์นะครับ
10. เริ่มต้นการถอดเปลี่ยน ฮาร์ดดิสก์ ก่อน ศึกษาการต่อสายไฟ และสายข้อมูลต่าง ๆ (ฮาร์ดดิสก์ จะเป็นจุดแรกที่ควรทราบไว้)
11. หลังจากรู้จักฮาร์ดดิสก์ แล้ว การศึกษาตัว ซีดีรอม ฟลอปปี้ดิสก์ ก็คงจะไม่ยากนัก
12. ถ้ามีการ์ด ต่าง ๆ ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด เช่นการ์ดจอ การ์ดเสียง โมเด็ม การทดลอง ถอด ใส่ ก็เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่ดีมาก ๆ
13. ซีพียู แรม ทดลองแงะออกมา แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ให้คุ้นเคยมือเลยครับ
14. อุปกรณ์อื่น ๆ สายไฟของระบบ สายแพร สายเสียง ฯลฯ ดูให้ครบว่ามีอะไรบ้าง
15. สังเกตุ jumper ต่าง ๆ และลองเปิดคู่มือเมนบอร์ดมาอ่านดู ว่าแต่ละตัวใช้สำหรับทำอะไรบ้าง
16. นึกภาพ ว่าถ้าจะอัพเกรดเครื่อง เปลี่ยน ซีพียูใหม่ เพิ่มแรม ฯลฯ ต้องทำอะไรบ้าง หรือถ้ามีซีพียูตัวใหม่จริง ๆ ก็ลุยกันเลยครับ
17. ทำได้แค่นี้ ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าจะให้ดี ต้องถอดทุกชิ้นส่วนออกมา แล้วประกอบใหม่ ถ้าเครื่องใช้งานได้ แปลว่าคุณสอบผ่าน
18. หากสนใจเรื่องอินเตอร์เน็ต ก็ลองเขียนเว็บไซต์เป็นของตัวเองขึ้นมาซักเว็บนึง อาจจะมีไอเดียดี ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่องได้ครับ

อ่านแล้วอย่าเพิ่งใจเสียกันนะครับ ทุก ๆ หัวข้อด้านบนนี้ ใช้เวลาศีกษาอย่างน้อยก็ ครึ่งปีขึ้นไป ดังนั้น ไม่ต้องฝันหวานกันเลย ว่าจะสามารถทำทุกอย่าง เรียนรู้ได้ภายใน 1 สัปดาห์ (แบบที่โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมใช้พูดกัน) แต่ถ้าหากคุณ สามารถทำได้ทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นความภูมิใจส่วนตัว ของคุณเองครับ ในส่วนของผม ก็คงจะทำได้แค่เพียง หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ มาแสดงเป็นตัวอย่างและแนวทางให้ทุกท่านได้ทดลองทำกัน อาจจะมีบางเรื่องที่ตรงกับความต้องการบ้างไม่มากก็น้อย

จะเริ่มต้นศึกษา ต้องลงทุนกันหน่อย
มีคำถามทำนองนี้เข้ามาค่อนข้างบ่อยว่า อยากจะเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยแนะนำสถานที่สอนหรือโรงเรียนที่ดี ๆ ให้หน่อย โดยส่วนตัวผมเองแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานนั่นแหละครับ คือครูที่ดีที่สุด เพียงแต่ว่า หากต้องการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการศึกษาหาความรู้ ก็ต้องลงทุนกันหน่อย อย่าเพิ่งนึกว่าเป็นการลงทุนอัพเกรด หรือต้องซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมนะครับ ผมหมายถึง การลงทุนโดยการลบทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณออกให้หมด และเริ่มต้นจากการ ทำการติดตั้งและลงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง ถ้าหากได้ทดลองสักครั้งหนึ่ง ครั้งต่อ ๆ ไปก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ คราวต่อไป ต้องการที่จะอัพเกรดเครื่องด้วยตัวเอง ก็ลองหาการ์ดต่าง ๆ แรม หรือซีพียู มาเปลี่ยนเอง จากนั้นความรู้และความชำนาญในด้านต่าง ๆ ก็จะตามมาเอง ไม่ยากหรอกครับ หากคิดว่ายากเกินไป ก็คงต้องหาเพื่อนที่พอเป็นมาเป็นพี่เลี้ยงในครั้งแรก ๆ ก่อนด็ดีครับ

บทสรุปส่งท้าย
การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้จากการทดลอง หากต้องการเรียนรู้ต้องทำการทดลองด้วยตัวคุณเอง เว็บไซต์นี้ จะเป็นข้อมูลในเบื้องต้น สำหรับการเรียนรู้ของทุก ๆ ท่าน โดยผมจะพยายามเพิ่มเติมเนื้อหาให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ซอฟต์แวร์ ฮาร์แวร์ เทคนิคต่าง ๆ เท่าที่ผมเองพอจะทราบอยู่บ้าง อาจจะทำได้ช้าไปสักนิดก็คงไม่ว่ากันนะครับ เพราะเว็บไซต์นี้ ผมทำเองคนเดียว โดยใช้เวลาว่างจากงานประจำมาอัพเดทข้อมูล กำลังใจของผมก็คือ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ครับ วันไหนเห็น ตัวเลขจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บเพิ่มขึ้น ก็รู้สึกว่า สิ่งที่ได้ทำลงไป มีผู้คนสนใจและตั้งใจที่จะเรียนรู้มากขึ้นครับ ส่วนแบนเนอร์ของเว็บไซต์สปอนเซอร์ ที่ติดอยู่ด้านบนของแต่ละหน้าเว็บ ก็ขอฝากไว้ให้ช่วย ๆ กันดูแลกันบ้างนะครับ คลิกบ่อย ๆ หรือทุกครั้งที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้นะครับ ขอให้มีความสุขกับการ ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ

Read More

ชนิดคำสั่ง DOS

คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

รูปแบบและการใช้ คำสั่งภายใน 20 คำสั่ง
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ

1. CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS

2. DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE

3. TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME

4. VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER

5. VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]

6. DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]

• /p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
• /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ

7. TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]

8. COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]

9. REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]

10. DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]

11. PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$

  • $ หมายถึงตัวอักษร
  • t หมายถึง เวลา
  • d หมายถึง วัน เดือน ปี
  • p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
  • v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
  • g หมายถึง เครื่องหมาย >
  • l หมายถึง เครื่องหมาย < q หมายถึง เครื่องหมาย =

12. MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]

13. CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]

  • CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
  • CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)

14. RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name] คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)

คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล

1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว

2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว

คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ

1. TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f] /f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย

2. SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]

3. CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path]

[filename[.ext]] [/f] [/v]

  • /f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
  • /v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่

4. LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]

5. FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้ กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่ FORMAT [d:] [/s] [/v]

  • /s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
  • /v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
6. DISKCOPY (COPY DISKETTE เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:] ส่วนที่เหลือ

Read More

อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแผ่นแตก

กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วครับ เรื่องไดรว์ CD-ROM ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดรว์ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดรว์รุ่นเก่า ๆ เลย ทางแก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ

Read More

ปัญหาของ CD Audio

ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio compact disk" หรือ Data or no disk loaded อาจมีสาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices (Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิก OK เพื่อปิด หน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่

Read More

ไดรว์ซีดีรอม อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ แก้ปัญหาอย่างไร

ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดรว์ซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ครับ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดรว์ซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดรว์ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

Read More

Insert System Disk and Press Enter

อยู่ ๆ ผมไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and Press Enter" ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดรว์ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดรว์ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว

Read More

RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง

อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ

Read More

ปัญหาที่เกิดจากซีพียู

ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว

Read More

ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น

จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue
สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป

บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม
หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ

Read More

Username&Password Nod32 ประจำวันที่ 29/3/2009

Username: EAV-13633008
Password: tue6fdvvfh

Username: EAV-13388100
Password: cp86b8wukn

Username: EAV-13388098
Password: 63aafdm6jt

Username: TRIAL-13588578
Password: 5mmub86rud

Username: TRIAL-13588575
Password: ksdsfmut55

Username: EAV-12823812
Password: vthbmmw22e

Username: EAV-13050378
Password: f783ajjapn

Username: EAV-12823812
Password: vthbmmw22e

Username: EAV-12411263
Password: w3ke8f2c3n

Username: EAV-12703134
Password: f7kx4vmuwx

Username: EAV-13633008
Password: tue6fdvvfh

Username: EAV-11939069
Password: d4vs4pdtpj

Username: EAV-13388100
Password: cp86b8wukn

Username: EAV-13388098
Password: 63aafdm6jt

Username: EAV-11789182
Password: xstdbbscf6

Username: EAV-12549888
Password: p2mx5ftu27

Username: EAV-12652584
Password: t6pue35bvw

Username: EAV-11846511
Password: 26p77xss27

Username: EAV-12677048
Password: 4h8xhdd4ct

Username: EAV-11789286
Password: m4tmvxck6e

Username: EAV-12610469
Password: wtwmeu6fxn

Username: EAV-11838778
Password: 8axv4enksm

Username: EAV-12478586
Password: 27cd54ee2c

Username: EAV-12158307
Password: p3t4786shf

Username: EAV-12160514
Password: rx4k32bfrt

Username: EAV-12330719
Password: txmpcex2tk

Username: EAV-11789214
Password: 7aje6phbnn

Username: EAV-12391532
Password: 8pst5vmu8p

Username: EAV-11939664
Password: nttn8bc37e

Username: EAV-11787850
Password: mn4p38ueav

Username: EAV-12158312
Password: bsp45e3sk8

Username: EAV-11846025
Password: 6nhkvatb2p

Read More

บทที่๒๕ ต่อลายในรูปจำกัด


บทที่๒๕

ต่อลายในรูปจำกัด


  • แสดงการต่อลายผูกเป็นลายที่ใช้ได้ เป็นลายตะละปัด ลายข้างซ้ายและข้างขวาทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน คือด้านหนึ่งเป็นลายกนกสามตัว และอีกด้านหนึ่งเป็นลายกนกใบเทศ
ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai25.htm

Read More

บทที่๒๔ วิธีต่อลาย



บทที่๒๔

วิธีต่อลาย


  • การเขียนลายหรือผูกลายไทย ให้เป็นเถาต่อกันไปได้นั้น ก็เอากาบและตัวกนกวางติดต่อสลับกันไป ใช้ตัวกนกเล็กบ้างโตบ้าง กาบก็ทำเช่นเดียวกัน ให้มีกาบเดี่ยวกาบคู่เอาตัวกนกอยู่ติดกัน ต้องพยายามให้กาบหรือตัวกนกที่ไม่เหมือนกันเอามาใช้ เมื่อถึงตอนสุดยอดของขด หรือสุดยอดของเถา ก็ใช้ตัวยอดหรือตัวกนกใส่การต่อลายนี้ ก็คือการฝึกหัดผูกลายนั่นเอง แต่ขั้นต้นต้องทำวิธีนี้ก่อน เพื่อการใช้จะได้คล่องแคล่ว และเป็นการฝึกหัดไปในตัวด้วย.
    • ต่อลายแบบหนึ่ง แสดงการใช้กาบเดี่ยว การซ้อนตัวกนกและตัวยอดสลับกันและแบ่งตัวต่างกันเป็นเถาโค้ง
    • ต่อลายแบบสอง แสดงการต่อเถาปลายเปลว มีกาบกนกนกคาบและตัวกนกเปลวต่อ สลับกันเป็นลายเปลวเถาเลื้อย
    • ต่อลายแบบสาม แสดงการต่อลายเถาเลื้อยกนกสามตัว มีกาบเดี่ยว,กาบซ้อน,นกคาบ,ตัวกนกตัวเล็ก ตัวโตแบ่งเต็มตัว
    • ต่อลายแบบสี่ ต่อเป็นลายก้านขด กนกสามตัว มีตัวกนกเล็กโต,ยอดลาย,กาบและนกคาบครบถ้วน
      วิธีต่อลายทั้งสี่อย่างนี้ เมื่อต้องการดูให้ลายติดต่อกัน ก็เขียนเส้นที่ขาดให้ต่อกัน.
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai24.htm

    Read More

    บทที่๒๓ ลายกรุยเชิง แบบ๑

    บทที่๒๓

    ลายกรุยเชิง แบบ๑


  • การเขียนลายกรุยเชิง ต้องใช้เครื่องประกอบลายให้ถูกต้องและครบถ้วน ถ้าขาดลายประกอบเสีนอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่เป็นลายกรุยเชิง ลายกรุยเชิงเป้นลายประกอบติดต่อกันกับลายอื่นอีกต่อหนึ่ง ใช้ต่อลายที่ดีที่สุดของลายอีก เช่น ลายผ้าม่าน,ผ้านุ่งยกดอกตอนปลายที่สุดใช้ลายกรุยเชิง ลายกรุยเชิงไม่มีใช้เฉพาะของตัวมันเอง
  • ลายกรุยเชิงมีลายประกอบดังนี้ คือ

      ๑.เส้นกันลาย หรือเส้นลวด(ถ้าลายใหญ่เปลี่ยนเป็นลูกขนาบ)

      ๒.ช่อแทงลาย(ดูคำอธิบายช่อแทงลาย)

      ๓.แม่ลาย(แม่ลายก็คือลายหน้ากระดานนั่นเอง)

      ๔.กรุยเชิง(ดูคำอธิบายกรุยเชิง)

      ลายกรุยเชิง เขียนได้หลายอย่างต่างๆกัน แต่คงมีเครื่องประกอบลาย เช่นเดียวกัน.
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai23.htm

    บทที่๒๓ ลายกรุยเชิง แบบ๑

    Read More

    บทที่๒๒ ย่อตัวและยืดกนก


    บทที่๒๒

    ย่อตัวและยืดกนก


    • มีความจำเป็นอีกอย่างหนึ่ง ที่จำต้องฝึกหัดเขียนตัวกนกที่ผิดทรงจากตัวเดิมของมันเขียนตัวให้เตี้ยแจ้ และยืดทรงตัวให้ยาวเพีรยว แต่การแบ่งกาบแบ่งจังหวะตัวต้องให้มีครบถ้วน ทำไมจึงต้องทำเช่นนี้ เพราะว่าเนื้อที่จะบรรจุลายย่อมมีไม่เท่ากัน บางแห่งมีรูปเป็นชายธงเรียว บางแห่งมีรูปเป็นชายธงเตี้ยสั้น การบรรจุตัวกนกจึงใช้ต่างกัน จึงจำเป็นต้องเขียนตัวกนกให้ยาวและสั้นเตี้ยได้ เมื่อพบเนื้อที่เช่นนี้เข้าก็จะใช้ได้สะดวก
    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai22.htm

    Read More

    บทที่๒๑ ทรงตัวกนก และกาบหันเหได้


    บทที่๒๑

    ทรงตัวกนก และกาบหันเหได้


    • การใช้กาบและตัวกนกเมื่อเวลาเข้าประกอบลาย ตัวกนกและกาบยอดจะหันเหไปทางไหนก็ได้ สุดแล้วแต่ความต้องการ แต่ต้องรักษาทรงตัวอย่าให้เสีย เพราะว่าการผูกลายกาบหรือตัวกนก กาบหรือตัวกนกย่อมไม่คงที่ อาจมีตัวเล็กตัวโต กาบเล็กและกาบใหญ่ สุดแล้วแต่เนื้อที่และการใช้ช่องไฟพื้น
    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai21.htm

    Read More

    บทที่๒๐ เครื่องประกอบลาย

    บทที่๒๐

    เครื่องประกอบลาย


    • เครื่องประกอบลาย แบบ๑

      การเขียนลายหรือผูกลายที่งามนั้น ก็ต้องมีเครื่องตบแต่งประกอบเพื่อส่งเสริมให้ลายที่เขียนนั้นงดงามดูวิจิตรพิสดาร เครื่องตบแต่งนี้ก้คือเครื่องประลายนั้นเอง เครื่องประกอบลายต่างๆมีอยู่ในกนกสามตัวทั้งนั้น ได้ถอดเอาออกมาและแยกเป็นส่วนๆ ออกเป็นกาบช้อนออกเป็นตัวกนก, และออกเป็นยอดลายก้านขด


    • เครื่องประกอบลาย แบบ๒

    ลายไทยมีอยู่หลายอย่างหลายชนิดด้วยกัน สำหรัยใช้ในงานแต่ละอย่าง และยังมีวิธีเขียนต่างกันด้วย เช่นเขียนลายถม, ลายลงยาสี, ลายตัวนูน เช่นปั้น, สลัก, แกะไม้ และปักดิ้นปักไหมลายฉลุ ฯลฯ เขียนลายชนิดไหนก้ใช้เครื่องประกอบลายชนิดนั้นให้มากเช่นเขียน ลายนกใบเทศประกอบเถาให้มาก นอกจากใช้กาบต่างๆประกอบเป็นเถาหนึ่งให้ออกไปเป็นอีกเถาหนึ่งนั้น ระหว่างที่จะแยกจากเถาต้องมี นกคาบ, กาบคู่หรือกาบไขว่เสมอไป(ดูกกผูกลายบทที่ ๒๖) ในแบบนี้แถวบนเป็นเครื่องประกอบลายใบเทศ และตอนล่างทั้งหมดเป็นที่แยกลาย ฉะนั้นการเขียนกาบและนกคาบเหล่านี้ต้องเขียนซ้ำๆกัน ให้จำได้อย่างแม่นยำ เพื่อสะดวกในเวลาคิดผูกลาย

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai20.htm

    Read More

    บทที่๑๙ ประกอบลายฐาน


    บทที่๑๙

    ประกอบลายฐาน


  • การใช้ลายเข้าประกอบเป็นรูปจัดว่าสำคัญมาก เพราะการใช้ลายจะใช้ไปตามใจชอบไม่ได้ ต้องใช้ให้ถูกเรื่องของมัน ต้องรู้ว่าอะไรต่อกับอะไรได้ และอะไรติดกันไม่ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวังให้มาก
  • ลายฐานหรือลายแท่นแบบหนึ่ง ประกอบด้วยลายหน้ากระดาน ลายบัวหงายบังคว่ำและลายท้องไม้
  • ลายฐานหรือลายแท่นแบบสอง ประกอบด้วยลายหมายเลข๑ ลายหน้ากระดานเลข ๒ คือเส้นลวดขึ้นระหว่างลายต่อลาย เลข๓ ลายบัวหงาย เลข๔ลายทองไม้ เลข๕ลายลูกแก้ว เลข๖ ลายบัวคว่ำ เลข๗ ลายหน้ากระดาน
  • จงสังเกตุลายแท่นทั้งสองนี้ มีอะไรต่างกัน และใช่อะไรที่ซ้ำกัน เช่น แบบหนึ่งมีท้องไม้อันเดียว แบสองมีท้องไม้ขนาบลูกแก้วทั้งข่างล่างและข้างบน เป็นที่สังเกตุว่าท้องไม้เมื่อเล็กลงมากก็มีแต่เส้นว่าง แต่เส้นว่างนั้นต้องใหญ่หรือเล็กกว้างกว่าเส้นกันลาย นี่เป็นวิธีหนึ่งของการใช้ลาย (ซึ่งจะให้เห็นวิธีเขียนบัวอีกหลายชนิด ประกอบอยู่ในรูปต่างๆ)
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai19.htm

    Read More

    บทที่๑๘ ลายหน้ากระดาน


    บทที่๑๘

    ลายหน้ากระดาน


    • ลายหน้ากระดานเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา จะต่อกันได้เรื่อยๆไปไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อต่อกันไปพอกับความต้องการแล้ว จะหยุดต้องใส่ตัวห้าม ตัวห้ามนี้คือตัวประจำยามนั่นเองแต่เขียนให้โตกว่าตัวลายที่ประกอบอยู่ในลายหน้ากระดาน หรือจะใช้กระจังหูห้ามก็ได้ แล้วแต่ลักษณะของลายที่เขียน ควรจะใช้อย่างใดห้าม
      แบบที่ ๑ เป็นลายหน้ากระดาน ประจำยามก้ามปู ก้ามปูคือมีตัวประจำยามอยู่กลางและมีกนกติดอยู่ทั้งสองข้าง และมีตัวประจำยามคั่น รวมเรียกว่า "ลายประจะยามก้ามปู"เป็นลายที่ใช้ในรูปจำกัด จะต้องมีจังหวะที่เขียนตัวประจำยามและก้ามปูได้พอเหมาะกับเนื้อที่

    • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๒
      แบบ๒ เป็นลายหน้ากระดาน ลูกฟักก้ามปู ลูกฟักคือ มีตัวประจำยาม และต่อด้วยกระจังใบเทศทั้งสองข้าง เป็นตัวคั่นระหว่างก้ามปู รวมเรียกว่า "ลายลูกฟักกามปู"เป็นลายที่ขยายให้ยาวต่อไปอีก เป็นลายที่ไม่จำกัดเนื้อที่ใช้ได้ตามความพอใจ
    • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๓
      แบบ ๓ เป็นลายก้านแบ่ง มีตัวประจำยามคั่นเป็นที่ออกลายและเป็นที่ห้ามลายไปในตัวมันเอง ระหว่างตัวประจำยาม มีเถาลายและกนกยอดสลับกัน รวมเรียกว่า"ลายประจำยามก้านแย่ง"เป็นลายที่ขยายเนื้อที่มากกว่าลายประจำยามก้ามปู ลายประจำยามก้านแย่งมีวิธีเขียนหลายอย่าง
    • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๔
        ลายหน้ากระดานทั้งสามแบบนี้ แสดงถึงการใช้เนื้อที่วางจังหวะตัวประจำยามต่างกันลายหน้ากระดานมีอยู่มากด้วยกันหลายชนิด เรียกชื่อต่างๆกันเป็นลายช่วยประกอบกับลายอื่น และจะใช้เฉพาะตัวเองของมันก็ได้ เช่นเขียนลายกรอบรูปจะเป็นรูปสี่เหลี่มหรือรูปวงกลม จะเอาลายหน้ากระดานมาใช้ก็ได้

      หมายเลข ๑ ลายประจำยามก้ามปู ๒ ลายประจำยามแก้มแย่ง ๓ ลายลูกฟักก้ามปู

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai18.htm

    Read More

    บทที่๑๗ ตัวย่อของกนกตามลำดับ


    บทที่๑๗

    ตัวย่อของกนกตามลำดับ


  • การที่จะผูกลายหรือประดิษฐ์ลาย จำเป็นต้องรู้จักเขียนตัวย่อ ของกนกที่เล็กที่สุดจนถึงตัวที่ใหญ่ขึ้นไปด้วย เพราะว่าการผูกลายนั้น ถ้าเขียนตัวกนกหรือกาบลายมีขนาดเท่ากันไปหมดทุกตัวแล้ว ก็จะไม่เป็นลายที่งาม ลายที่งามจะต้องมีจังหวะมีระยะตัวกนกเล็กบ้างโตบ้าง กาบก็เช่นเดียวกัน ต้องมีเล็ก มีโต มีแบ่งสอง แบ่งสาม สุดแต่ลายที่เขียนนั้นมีเนื้อที่เล็กหรือใหญ่ถ้ามีเนื้อที่ใหญ่ ก้จะผูกลายได้งามเพราะจะได้แสดงวิธีแบ่งตัวต่างๆได้หลายอย่าง(ตามภาษลายเรียกว่า มีลูกเล่นมาก) ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถของผู้เขียน ฉะนั้นการย่อหรือการขยายตัวลายนี้ จัดว่าเป็นสำคัญอย่างหนึ่ง

    • แบบที่ ๑ ย่อและขยายกาบซ้อน จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๒ ย่อและขยายไส้ขมวด จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๓ ย่อและขยายตัวใบเทศ
  • วิธีเขียนย่อหรือขยายลายนี้ จะเป็นกนกชนิดก็เขียนเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าเป็นกนกหัวกลับ และกนกผักกูด(กนกเขมร)ก็ใช้ยอดขมวด
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai17.htm



    Read More

    บทที่๑๖ เทศหางโต


    บทที่๑๖

    เทศหางโต


    เทศหางโต หรือ หางโต มีลักาณะรูปร่างเหมือนกนกใบเทศตลอดจนส่วนประกอบก็เช่นเดียวกัน แต่ผิดกันก็ตอนบนของหางโต ใช้ทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑต่อจากก้านหรือจะใช้ใบเทศต่อก้านก็ได้ เมื่อถึงตอนยอดก็ให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เทศหางโต หรือ หางโต เมื่อเข้าลายหรือผูกลายจะใช้ปนกับกนกใบเทศก็ได้การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตที่

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai16.htm


    Read More

    บทที่๑๕ กนกใบเทศ


    บทที่๑๕

    กนกใบเทศ


    กนกใบเทศมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่การแบ่งตัวของกนกใบเทศ ใช้ใบเทศเกาะติดอยู่กับก้าน หรือเป็นแข้งสิงห์เกาะอยู่กับก้านก็ได้ แต่การวางจังหวะใบเทศหรือแข้งสิงห์จะต้องให้อยู่ในทรงของกาบกนกสาตัว ฉะนั้น เมื่อจะวางแข้งสิงห์หรือตัวใบเทศจะต้องร่างทรงกาบของกนกสามตัวเสียก่อน แล้วจึงวางใบเทศหรือแข้งสิงห์ ส่วนตัวยอดเขียนให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว วิธีแบ่งใบเทศ แบ่งตัวอย่างกระจังใบเทศ ถ้าจะทำให้เป็นแข้งสิงห์(ดูแบบตัวที่สาม) การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai15.htm

    Read More

    บทที่๑๔ กนกเปลว


    บทที่๑๔

    กนกเปลว


    กนกเปลวมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่กาบล่างของกรกเปลวต่างกัน ไม่มีแง่หยักเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เขียนลื่นๆและการสอดไส้กาบ คือการแบ่งกาบก็ต่างกัน ส่วนกาบบนและยอดคงเหมือนกับกนกสามตัว ส่วนกาบล่างแบ่งต่างกันการฝึกหัดคงเหมือนกนกสามตัวทุกอย่าง


    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai14.htm

    Read More

    บทที่๑๓ กนกสามตัว


    บทที่๑๓

    กนกสามตัว


  • กนกสามตัวจัดว่าเป็นแม่ลายที่สำคัญมาก เท่ากับเป็นแม่บทของกนกต่างๆทุกชนิดเพราะกนกทุกชนิดก็ได้แยกออกไปจากนกสามตัวและตอนยอดก็ใช้เหมือนกนกสามตัวให้อ่อนลื่นลงไป กาบบนคงใช้ตามทรงเดิมของกนกสามตัวการเขียนกนกตัวอื่นๆก็คล้ายคลึงกัน มีเพิ่มกาบมากบ้างน้อยบ้าง และบางตัวกนกก็ใช้ขมวดยอดลายและกาบ ก็เกิดเป็นรูปตัวกนกต่างๆแต่ทรงของตัวกนกคงเหมือนเดิมกับกนกสามตัวทั้งนั้นฉะนั้น การฝึกหัดเขียนจำต้องเขียนให้จำได้แม่นยำจริงๆ เมื่อจำกนกสามตัวได้แน่นนอนแล้ว การเขียนตัวกนกอื่นๆต่อไปก็จะจำได้ง่าย
  • วิธีฝึกหัดเขียนที่ดี ใช้ว่าเพียงแต่จำทรงตัวกนกได้แบ่งกาบถูกต้อง ทำยอดกนกได้ดีเท่านั้น จำจะต้องเขียนตัวกนกให้ยอดหันเหไปได้รอบตัว โดยไม่ต้องหมุนกระดาษที่เขียนไปคือเขียนตัวกนกให้ยอดลง ให้ยอดไปข้างซ้ายหรือข้างขวา หรือยอดให้เฉียงไปทางใดก็ได้นอกจากนี้ยังต้องเขียนกนกย่อ และขยายให้เล็กโตเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ จึงจะจัดว่าเขียนตัวกนกได้ดี
  • และตัวกนกมีความสำคัญอยู่อีกประการหนึ่ง เช่น กนกสามตัวๆที่สามคือกาบบนกาบล่างที่ซ้อนกันอยู่ในตัวกนกนั้น เมื่อถึงการประดิษฐ์ลายก็แยกเอากาบเหล่านี้มาประกอบสลับติดต่อกัน มีกาบเล็กบ้างโตบ้าง ก็จะเกิดเป็นเถาลายขึ้น ความสำคัญของตัวกนกมีอยู่ดังนี้ การฝึกหัดเขียนที่ดีควรทวนความจำทุกวันไม่มากก็น้อย

  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai13.htm

    Read More

    บทที่๑๒ หางไหล


    บทที่๑๒

    หางไหล


    หางไหลเป็นที่มาของกนกตัวต้น ทรงคล้ายกนกเปลว หรือเป็นแกนของตัวกนกอีกทีหนึ่ง โดยมากใช้เขียนเป็นลายเปลวไฟ ไม่มีใช้ผูกเป็นลายกนกเปลวเทียนหรือเป็นลายก้านขด

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai12.htm


    Read More

    บทที่๑๑ ช่อแทงลาย และ กรุยเชิง


    บทที่๑๑

    ช่อแทงลาย และ กรุยเชิง


  • ช่อแทงลาย คือเอาตัวกระจงใบเทศเขียนทรงตัวให้สูงขึ้น หรือ ทรงยาวเพรียวขึ้นประมาณสองส่วนของส่วนกว้าง ที่ว่างใส่ตัวแรก ถ้าใส่แทรกตัวหนึ่งแล้วยังมีที่ว่างใส่ได้อัก วิธีแบ่งตัวทำเช่นเดียวกับลายบัวหงายบัวคว่ำ วิธีประประดิษฐ์ลายช่อแทงลาย เอากระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาใช้ก็ได้
  • กรุยเชิง ก็ใช้กระจังใบเทศ หรือกระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑ มาเขียนทรงให้ยาวประมาณสามส่วน และต่อยอดยาวเป็นเส้นอย่างกรุ่ยผ้า ใช้ให้ยาวไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเหมาะสม แต่ต้องให้ยอดลง ถ้าจะใช้กระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาประดิษฐ์เป็นกรุยเชิงการใส่ตัวแรกแทรกใช้ต่างกัน คือใช้ตัวแทรกไม่ทับกัน ใช้ตัวแทรกมาก้านต่อ(ดูแบบลายกรุยเชิงที่ประกอบครบถ้วน)ช่อแทงลาย หรือ กรุยเชิงนี้ เป็นลายช่วยประกอบลายอื่นเฉพาะตัวของมันเอง
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai11.htm

    Read More

    บทที่๑๐ บัวหงาย และ บัวคว่ำ


    บทที่๑๐

    บัวหงาย และ บัวคว่ำ


    บัวหงายและบัวคว่ำ ประกอบด้วยกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังครั้งตัวห้ามทั้งสองข้าง ระหว่างตัวที่ว่างใช้กระจังแทรก ตัวแทรกนี้คือตัวกระจังนั้นเอง เอาเฉพาะตอนยอดของกระจังมาใส่ถ้าเป็นลายยังขนาดโตก็ใช้ตัวแทรกขึ้นไปเป้นลำกับลายบัวหงาย-บัวคว่ำ เป็นชายช่วยประกอบลายอื่นๆ ไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง หมายเลข๑บัวหงาย หมายเลข๒บังคว่ำ.


    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai10.htm

    Read More

    บทที่๙ รักร้อย


    บทที่๙

    รักร้อย


    ลายรักร้อยประกอบด้วย ลายประจำยามและกระจังใบเทศ หรือกระจังตาอ้อยลายรักร้อย ใช้ลายประจำยามเป็นที่ออกลาย เอากระจังใบเทศหรือกระจังตาอ้อยเรียงต่อกันไปทั้งซ้ายและขวาจนถึงที่ๆต้องการ ลายรักร้อยเป้นลายช่วยประกอบกับลายอื่นๆ โดยมากไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง ถ้าเป้นลายรักร้อยใหญ่ ใช้วิธีแบ่งตัวเหมือนกระขังใบเทศหรือจะเอาวิธีแบ่งตัวของกระจังหูมาใช้ก็ได้

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai9.htm

    Read More

    บทที่๘ ประจำยาม


    บทที่๘

    ประจำยาม


    ลายประจำยาม ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม ประกอบด้วยวงกลมกับตัวกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อเล็กก้ใช้กระจังตาอ้อนแทน ลายประจำยาม ไม่เฉพาะแต่ใช้กระจังใบเทศ จะใช้กระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑก็ได้ ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป้นแม่ลาย คือที่ออกลายหรือใช้เป็นที่ห้ามลาย


    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai8.htm

    Read More

    บทที่๗ พุ่มทรงข้าวบิณฑ


    บทที่๗

    พุ่มทรงข้าวบิณฑ


    ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีส่วนกว้างสองส่วน สูงสามส่วน วิธีเขียน สองส่วนตอนบนเขียนอย่างใบกระจังเทศแต่ให้สั้น เอายอดลงต่อกับตอนบน เท่ากับเขียนกระจังใบเทศสองตัวกัน รอบตัวของพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกับกระจังเทศ แต่ตอนที่แข้งสิงห์ต่อกัน ระหว่างตอนบนกับตอนล่างน้นใส่ตัวห้าม พุ่มทรงข้าวบิณฑใช้เป็นี่ออกลายเป็นลายดอกลอย และยังใช้เข้าประกอบกับลายอื่นๆ ได้อีก

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai7.htm

    Read More

    บทที่ ๖ กระจังรวน


    บทที่ ๖

    กระจังรวน


    กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน ตลอดจนแบ่งตัวทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด แต่ใช้ยอดลงปลายยอด(ยอดเฉ)ยอดบัดไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เป็นลายติดต่อซ้ายขวา

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai6.htm

    Read More

    บทที่ ๕ กระจังหู


    บทที่ ๕

    กระจังหู


    กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรือกระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไป

    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai5.htm


    Read More

    บทที่ ๔ วิธีแบ่งแข้งสิงห์


    บทที่ ๔

    วิธีแบ่งแข้งสิงห์

  • ทรงของแข้งสิงห์อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม หรือยาวกว่ารูปสี่เหลี่ยมทแยงมุมเล็กน้อย แต่ต้องไมแคบกว่าสี่เหลี่ยมทแยงมุม วิธีแบ่งแข้งสิงห์ตามลำดับ(ดูแบบ)
  • ตัวหนึ่งมีบาก
  • ตัวที่สองมีบากและมีขมวด
  • ตัวที่สามและตัวที่สี่มีสอดไส้และบาก
  • ตัวห้ามีขมวดและแบ่งสิงห์ซ้อน
  • ตัวหกมีกาบอ่อน(แข้งสิงห์ตัวต้น) ละมีสอดไส้ และมีแข้งสิงห์ซ้อนแข้งสิงห์
  • ตัวเจ็ดเป็นวิธีแบ่งแข้งสิงห์ตัวที่สุด
  • เมื่อถึงยอดก็ต้องทำยอดสบัดเป้นตัวกนก (ตัวหนึ่งไม่ได้แสดงเอาไว้เมื่อเอาไว้ขมวดตัวสองออกก็เป็นตัวที่หนึ่ง)
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai4.htm





  • Read More

    บทที่๓ กระจังใบเทศ


    บทที่๓

    กระจังใบเทศ


    • กระจังใบเทศมีทรงภายนอกอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าเช่นเดียวกัน แต่ภายในตัวมีสอดไส้แต่ หนึ่ง-สอง-สาม ขึ้นไป กระจังใบเทศมีวิธีแบ่งตัวได้ หรือสอดไส้ได้หลายวิธี เมื่อตัวยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งแบ่งตัวมากขึ้น และใส่ตัวซ้อนมากขึ้น การแบ่งจังหวะรอบตัวของกระจังใบเทศนี้ เรียกว่า "แข้งสิงห์" เมื่อตัวกระจังใบเทศใบยิ่งโตขึ้นเท่าใด แข้งสิงห์ก็จำต้องแบ่งตัวตามขึ้นไปด้วย การแบ่งแข้งสิงห์ให้เป็นลำดับติดต่อกันไม่ได้ ก็เท่ากับเขียนกระจังใบเทศไม่เป็น
    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai3.htm

    Read More

    บทที่ ๒ ตาอ้อย


    บทที่ ๒

    ตาอ้อย

    • ตาอ้อย หรือกระจังตาอ้อย ทรงตัวอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีทรงตัวเส้นอ่อนเรียวทั้งซ้าย และขวาปลายยอดแหลมมีบาก (คือหยัก) ทั้งสองข้าง เมื่ออยู่เฉพาะตัวเดี่ยวๆเรียกว่าตาอ้อย เมื่อเข้าประกอบเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา เช้น เขียนเป็น ลายบัวหงายบัวคว่ำเป็นตัวอย่างของใบกระจังเทศ เช่นเดียวกับ กระจังฟันปลา แต่เป็นตัวย่อตัวที่สองรองจากกระจังฟันปลา เป็นลายติดต่อซ้ายและขวา
    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai2.htm


    Read More

    บทที่ ๑ กระจังฟันปลา


    บทที่ ๑
    กระจังฟันปลา

    • ผันปลา หรือกระจังฟันปลา ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีรูปเป็นสามเหลี่ยมยอดเรียวแหลม เป้นที่มาของกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ถือเป็นกระจังตัวต้นหรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่าเป็นตัวอย่างของกระจังใบเทศ และกระจังตาอ้อยก็ได้ เพราะว่าเมื่อเขียนบัวหงายหรือบังคว่ำ เมื่อย่อเล็กที่สุดก็ใช้กระจังฟันปลาแทน กระจังฟันปลาเป็นลายติดต่อได้ทั้งซ้าย และขวา (กระจังฟันปลามีซ้อน หนึ่ง-สอง-สามฯ แต่ในที่นี้จะใช้เฉพาะเรื่องการใช้ลายเท่านั้น)
    ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai1.htm

    Read More

    รูปสาวๆๆหน้ารักๆ




    Read More

    แนวข้อสอบ 220 ข้อ

    ลองๆ อ่านดูครับ

    1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
    ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ
    ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
    ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร*
    ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร

    2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
    ก.1 มิถุนายน 2516
    ข.1 มิถุนายน 2526*
    ค.1 ตุลาคม 2526
    ง.1 ธันวาคม 2527

    3.หนังสือราชการคืออะไร
    ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย
    ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ*
    ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ
    ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ

    4.งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร
    ก.ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว
    ข.ประหยัดแรงงานและเวลา
    ค.ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง
    ง.ถูกทุกข้อ *

    5.ลักษณะในข้อใดที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ
    ก.มีความรู้ภาษาไทย
    ข.มีความสุขุม ละเอียด รอบคอบ
    ค.ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง
    ง.ถูกทั้ง ก. ข. และค. ประกอบกัน *

    6.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
    ก.หนังสือภายนอก*
    ข.หนังสือภายใน
    ค.หนังสือประทับตรา
    ง.หนังสือประชาสัมพันธ์

    7.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
    ก. เรื่อง
    ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
    ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย
    ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย*
    8.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
    ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน
    ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
    ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
    ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. *

    9.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
    ก.แบบฟอร์ม*
    ข.การเก็บหนังสือ
    ค.ผู้ส่งและผู้รับ
    ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง

    10.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
    ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
    ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
    ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา
    ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. *

    11.ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน
    ก.หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง
    ข.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง
    ค.หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน
    ง.ไม่มีข้อถูก *

    12.หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด
    ก.ใช้กระดาษตราครุฑ*
    ข.ใช้กระดาษบันทึก
    ค.ใช้ประดาษอัดสำเนา
    ง.ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน

    13.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
    ก.ประทับตรา
    ข.สั่งการ
    ค.ประชาสัมพันธ์ *
    ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น

    จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 14 ถึง 17
    ก.แถลงการณ์ ข.ข้อบังคับ
    ค.คำสั่ง ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และค.

    14.บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย* ข
    15.บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน* ก
    16.บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย* ค
    17.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน* ง

    18.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
    ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
    ข.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
    ค.ปฏิบัติโดยเร็ว*
    ง.ปฏิบัติทันที


    19.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
    ก.ใต้รูปครุฑ
    ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก *
    ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้
    ง .ผิดทุกข้อ

    20.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
    ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด
    ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน
    ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา
    ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ*

    21.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
    ก.หนังสือภายใน
    ข.หนังสือสั่งการ
    ค.หนังสือประชาสัมพันธ์
    ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ*

    22.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
    ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป
    ข.หัวหน้าแผนก
    ค.หัวหน้าฝ่าย
    ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

    23.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
    ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด
    ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
    ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ *
    ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา

    24.ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ
    ก.สำเนาต้นฉบับ
    ข.สำเนาคู่ฉบับ*
    ค.สำเนาซ้ำฉบับ
    ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

    25.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
    ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ
    ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
    ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน*
    ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน

    26.การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรองที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ
    ก.ระดับ 2*
    ข.ระดับ 3
    ค.ระดับ 4
    ง.ระดับ 5

    27.การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ
    ก.ริมกระดาษด้านบนขวา
    ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย
    ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย*
    ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด

    28.หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
    ก.ด้านบนขวา
    ข.ด้านล่างซ้าย
    ค.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด*
    ง.ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด

    29.การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน
    ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา
    ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา
    ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง *
    ง.ตรงไหนก็ได้

    30.ตั้งแต่ข้อ 30 ถึง 33 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
    ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
    ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
    ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
    ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

    30.เลขที่หนังสือออก* ก
    31.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ* ง
    32.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง* ค
    33.ด่วนมาก* ข

    34.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
    ก.5 ปี
    ข.10 ปี *
    ค.15 ปี
    ง.20 ปี

    35.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
    ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม*
    ข.บอกเรื่องที่จะประชุม
    ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
    ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

    36.ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร
    ก.เวลาเลิกประชุม
    ข.ผู้จดรายงานการประชุม*
    ค.ผู้ตรวจรายงานการประชุม
    ง.วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม

    37.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติด แบ่งเป็นกี่ประเภท
    ก.4
    ข.3*
    ค.2
    ง.ประเภทเดียว

    38.การเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) คำว่าด่วน หรือด่วนมาก จะต้องเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) ไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
    ก.ท้ายหนังสือ
    ข.ให้เห็นได้ชัด*
    ค.บนหัวหนังสือ
    ง.ตรงไหนก็ได้

    39.การร่างหนังสือราชการต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง เรื่องใดต่อไปนี้จำเป็นน้อยมาก
    ก.แบบฟอร์ม*
    ข.ใจความ
    ค.วรรคตอน
    ง.ตัวสะกดการันต์

    40.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
    ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี
    ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
    ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา
    ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

    41.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
    ก.ลงทะเบียนรับหนังสือ
    ข.ประทับตรารับหนังสือ
    ค.เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร
    ง.ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ*

    42.การร่างหนังสือคืออะไร
    ก.การพิมพ์หรือเขียนอย่างย่อๆ
    ข.การกำหนดโครงร่างหนังสืออย่างคร่าวๆ
    ค.การเขียนหนังสือด้วยลายมือของตนเอง
    ง.การเรียบเรียงชั้นต้นตามเรื่องที่ต้องการติดต่อ*

    43.เหตุใดจึงต้องให้มีการร่างหนังสือก่อนพิมพ์
    ก.ต้องการให้เจ้าของเรื่องได้เห็นต้นร่างก่อน
    ข.ต้องการดูว่าใจความจะยาวหรือสั้นเพียงใด
    ค.ต้องการให้ผู้ร่างหนังสือมีงานทำและร่างหนังสือด้วยความระมัดระวัง
    ง.ต้องการให้มีการตรวจแก้ให้เหมาะสมตามระเบียบแบบแผนก่อน*

    44.การเสนอหนังสือคืออะไร
    ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ
    ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
    ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
    ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา*

    45.การเสนอหนังสือที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร
    ก.ต้องเสนอเรื่องที่ไม่มีปัญหาก่อนเสมอ
    ข.ต้องเสนอเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ
    ค.ต้องแยกเรื่องเสนอเป็นประเภทๆ ไป*
    ง.ต้องเรียงลำดับเรื่องเสนอก่อน-หลัง ตามวัน เดือน ปี ที่ได้รับ

    46.ภาพข้างล่างนี้คืออะไร
    (ชื่อส่วนราชการ)
    เลขรับ……………………………..
    วันที่……………………………….
    เวลา……………………………….
    ก.ใบรับหนังสือ
    ข.ทะเบียนหนังสือรับ
    ค.ตราประทับสำหรับลงรับหนังสือ*
    ง.ตราประทับสำหรับส่งหนังสือ

    47.ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
    ก.ทะเบียนรับ
    ข.ทะเบียนจ่าย*
    ค.ทะเบียนส่ง
    ง.ทะเบียนเก็บ

    48.ตามที่ได้มีช่อง “การปฏิบัติ” ไว้ในทะเบียนรับ-ส่ง หนังสือนั้น เพื่อประโยชน์อะไร
    ก.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นใครเป็นผู้ส่งมา
    ข.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นจะต้องส่งไปที่ไหน
    ค.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร
    ง.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นได้มีการปฏิบัติการไปแล้วเพียงใด*

    49.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
    ก.2
    ข.3
    ค.4*
    ง.5

    50.การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
    ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ*
    ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ
    ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
    ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

    51.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด
    ก.การค้นหา*
    ข.การตรวจสอบ
    ค.การทำความสะอาดที่เก็บ
    ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

    52.ใบรับหนังสือมีประโยชน์อย่างไร
    ก.แสดงว่าหนังสือนั้นไม่สูญหาย
    ข.แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
    ค.เป็นหลักฐานว่าผู้ส่งได้ส่งหนังสือแล้ว
    ง.เป็นหลักฐานว่าได้ส่งหนังสือและมีผู้รับหนังสือนั้นไปแล้ว*

    53.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
    ก.หนังสือภายนอก
    ข.หนังสือภายใน
    ค.หนังสือสั่งการ
    ง.หนังสือประทับตรา*

    54.ในสำเนาคู่ฉบับควรมีลายมือชื่อบุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ใดที่ไม่จำเป็นต้องมี
    ก.ผู้ร่าง
    ข.ผู้พิมพ์
    ค.ผู้สั่งพิมพ์*
    ง.ผู้ตรวจ-ทาน

    55.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
    ก.กอง แผนก กรม กระทรวง
    ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
    ค.กระทรวง กอง กรม แผนก
    ง.กระทรวง กรม กอง แผนก*

    56.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
    ก.ที่มุมบนขวา*
    ข.ที่มุมบนซ้าย
    ค.ที่มุมล่างซ้าย
    ง.ที่มุมล่างขวา

    57.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง
    ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ
    ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ
    ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ
    ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ*

    58.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด
    ก.หนังสือภายใน
    ข.หนังสือภายนอก
    ค.หนังสือราชการด่วน
    ง.หนังสือราชการลับ*

    59.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใด
    ก.คำขึ้นต้น
    ข.คำลงท้าย
    ค.การลงชื่อ
    ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.*

    60.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
    ก.แดง*
    ข.ดำ
    ค.น้ำเงิน
    ง.เขียว

    61.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด
    ก.คำสั่ง
    ข.ระเบียบ
    ค.ข้อบังคับ
    ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.*

    62.บรรทัดสุดท้ายของหนังสือสั่งการทุกประเภทจะต้องเป็นข้อความที่ระบุอะไร
    ก.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
    ข.ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ
    ค.ตำแหน่งของผู้มีอำนาจออกหนังสือ*
    ง.ลายมือชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือ

    63.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่
    ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ
    ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย*
    ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้
    ง.ไม่มีคำตอบถูก

    64.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
    ก.เรียน
    ข.กราบเรียน
    ค.ถึง
    ง.นมัสการ*

    65.ถ้าอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำงานแทนเมื่อลงนามในหนังสือจะต้องใช้คำว่าอย่างไร
    ก.ใช้ตำแหน่งของผู้ทำงานแทน
    ข.ทำงานแทน
    ค.รักษาราชการแทน *
    ง.ปฏิบัติราชการแทน

    66.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
    ก.เรื่องเร่งด่วน
    ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
    ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน
    ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน*

    67.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
    ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ*
    ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
    ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
    ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง

    68.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร
    ก.ทรงเครื่อง*
    ข.แต่งพระองค์
    ค.ทรงเครื่องใหญ่
    ง.ทรงพระสุคนธ์

    69.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร
    ก.ไม่สบาย
    ข.ประชวร
    ค.อาพาธ*
    ง.ทรงพระประชวร

    70.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
    ก.เดินทาง
    ข.ฟังเทศน์
    ค.ทำบุญ*
    ง.ไปวัด

    71.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
    ก. พระรูป
    ข.กระจกส่อง*
    ค.หวี
    ง.ช้อนส้อม

    72.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์
    ก.ถึงแก่กรรม
    ข.มรณกรรม
    ค.อสัญกรรม *
    ง.พิราลัย

    73.อายุการเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
    ก.5 ปี
    ข.10 ปี*
    ค.15 ปี
    ง.ไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้

    74.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลักต้องปฏิบัติอย่างไร
    ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
    ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
    ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
    ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ*

    75.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
    ก.เจ้าหน้าที่เก็บ
    ข.ประจำแผนก
    ค.หัวหน้าแผนก
    ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

    76.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
    ก.1 ปี*
    ข.1 ปี 6 เดือน
    ค.2 ปี
    ง.3 ปี

    77.ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการจะต้องเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
    ก.หัวหน้าแผน
    ข.หัวหน้าฝ่าย
    ค.หัวหน้ากอง*
    ง.รองอธิบดี

    78.ถ้าปรากฏว่าหนังสือราชการที่เก็บไปสูญหายไป จะต้องปฏิบัติอย่างไร
    ก.ติดต่อเจ้าของเรื่องเดิมเพื่อหาสำเนามาแทน*
    ข.เรียกตัวผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่หายมาสอบถาม
    ค.ปล่อยไปเลยแต่ให้หมายเหตุว่าเรื่องหาย
    ง.ผิดทั้ง ก. ข. และ ค.

    79.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน
    ก.2 คน
    ข.3 คน*
    ค.4 คน
    ง.5 คน

    80.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด
    ก.อธิบดี
    ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี
    ค.ปลัดกระทรวง
    ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี*

    81.คณะกรรมการทำลายหนังสือจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใดขึ้นไป
    ก.ระดับ 2
    ข.ระดับ 3*
    ค.ระดับ 4
    ง.ระดับใดก็ได้

    82.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ผู้ใด
    ก.ปลัดจังหวัด
    ข.อธิบดี
    ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
    ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*

    83.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่มีความสูงเท่าไร
    ก.2.5 ซม.
    ข.3.0 ซม.*
    ค.3.5 ซม.
    ง.4.0 ซม.

    84.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร
    ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม.
    ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม.
    ค. 4.5 ซม.และ 3.5 ซม. *
    ง.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้

    85.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
    ก.2 ขนาด*
    ข.3 ขนาด
    ค.4 ขนาด
    ง.5 ขนาด

    86.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป
    ก.หัวหน้าแผนก*
    ข.หัวหน้าฝ่าย
    ค.หัวหน้ากอง
    ง.รองอธิบดี

    87.การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้วของกระทรวงต่างๆ ตามปกติเป็นหน้าที่ของใคร
    ก.แผนกสารบรรณของแต่ละกรม
    ข.แผนกเก็บกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวง
    ค.ฝากเก็บที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
    ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

    88.การยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการ ผู้มีอำนาจในการดำเนินการยืมจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
    ก.หัวหน้าแผนก
    ข.หัวหน้าฝ่าย
    ค.หัวหน้ากอง*
    ง.รองอธิบดี

    89.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
    ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
    ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
    ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า
    ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

    90.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร
    ก.อธิบดี
    ข.ปลัดกระทรวง
    ค.ข้าราชการระดับ 5
    ง.ถูกหมดทุกข้อ*




    จาก ขงเบ้ง (203.148.199.27) วันที่ 5/11/2548 5:02:42




    ตอบ No. 1

    จาก ขงเบ้ง
    วันที่ 5/11/2548 5:06:50
    001:งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
    1. :ข้อบังคับ
    2. :ระเบียบ
    3. :ข้อบัญญัติ
    4. :พระราชบัญญัติ:3

    002:ข้อใดคือนิยามของ "งบประมาณ" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
    2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
    3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
    4. :ถูกทุกข้อ:2

    003:ข้อใดคือนิยามของ "แผนงาน" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
    1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
    2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
    3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
    4. :ถูกทุกข้อ:3

    004:ในกรณีที่งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะดำเนินการอย่างไร
    1. :ไม่มีการเบิกจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
    2. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
    3. :นำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
    4. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณามาใช้ไปพลางก่อน:3

    005:บุคคลในตำแหน่งใด เป็น เจ้าหน้าที่งบประมาณ
    1. :นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
    2. :ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
    3. :เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
    4. :เจ้าหน้าที่พัสดุ:2

    006:ข้อใดไม่ใช้รายจ่ายประจำ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
    1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
    2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
    3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
    4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4

    007:ข้อใดคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
    1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
    2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
    3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
    4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4

    008:ข้อใดสามารถเบิกจ่ายได้ แม้งบประมาณรายจ่ายประจำปี ออกใช้ไม่ทัน
    1. :ค่าครุภัณฑ์
    2. :งบลงทุน
    3. :ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
    4. :ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ:4

    009:ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
    1. :อำเภอ
    2. :เทศบาล
    3. :องค์การบริหารส่วนตำบล
    4. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด:1

    010:งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
    1. :พระราชบัญญัติ
    2. :ข้อบัญญัติ
    3. :ระเบียบ
    4. :ข้อบัญญัติ:2

    011:บุคคลใดมีอำนาจสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :ประธานกรรมการบริหาร
    2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
    3. :นายอำเภอ
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4

    012:องค์กรบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็น
    1. :ราชการส่วนท้องถิ่น
    2. :ราชการส่วนภูมิภาค
    3. :องค์กรอิสระ
    4. :ราชการส่วนกลาง:1

    013:ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
    1. :1 ปี
    2. :2 ปี
    3. :3 ปี
    4. :จนกว่าจะครบอายุสภา:4

    014:ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งมีจำนวน 2 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้กี่คน
    1. :4 คน
    2. :6 คน
    3. :10 คน
    4. :12 คน:2

    015:ข้อใดไม่ใช่ส่วนบริหารราชการส่วนกลาง
    1. :กรุงเทพมหานครฯ
    2. :สำนักนายกรัฐมนตรี
    3. :กระทรวง ทบวง
    4. :กรม:1

    016:ใครมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :นายอำเภอ
    2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    3. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
    4. :อธิบดีกรมการปกครอง:1

    017:ใครมีอำนาจเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยสามัญประจำปี
    1. :นายอำเภอ
    2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
    3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    4. :ประธานกรรมการบริหาร:2

    018:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :ภาษีบำรุงท้องที่
    2. :ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
    3. :ภาษีสรรพสามิต
    4. :ถูกทุกข้อ :4

    019:การประชุมสภา อบต.สมัยสามัญหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่สามารถขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
    1. :นายอำเภอ
    2. :ประธานสภา อบต.
    3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    4. :อธิบดีกรมการปกครอง:1

    020:ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล
    2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ
    3. :ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกฯ
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    021:ในปีหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีสมัยประชุมสามัญไม่เกินกี่สมัย
    1. :2 สมัย
    2. :3 สมัย
    3. :4 สมัย
    4. :5 สมัย:3

    022:ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุกี่ปี
    1. :อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
    2. :อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
    3. :อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
    4. :อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์:2

    023:ข้อใดไม่ใช่วิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ
    1. :ตกลงราคา
    2. :สอบราคา
    3. :จ้างเหมาราคา
    4. :ประกวดราคา:3

    024:การจัดซื้อจัดจ้างโดยวีธีตกลงราคาจะต้องมีวงเงินไม่เกินเท่าไร
    1. :10,000 บาท
    2. :50,000 บาท
    3. :100,000 บาท
    4. :500,000 บาท:3

    025:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
    2. :ภาษีอากร
    3. :ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ค่าใบอนุญาต ตามกฎหมายกำหนด
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    026: "หนังสือภายใน" หมายถึง
    1. :หนังสือที่ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
    2. :หนังสือที่ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
    3. :หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    027:ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์
    1. :บันทึกข้อความ
    2. :ข้อบังคับ
    3. :ประกาศ
    4. :คำสั่ง:3

    028:ลักษณะของผู้ที่จะทำงานสารบรรณได้ดีคือ
    1. :ผู้มีความรู้ภาษไทยดี
    2. :ผู้รู้ระเบียบงานสารบรรณดี
    3. :ผู้ที่สามารถติดต่อ โต้ตอบ ประสานงานคล่องแคล่ว ว่องไว
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    029:ในงานสารบรรณ "หนังสือ" หมายถึง
    1. :หนังสือเรียน
    2. :หนังสือราชการ
    3. :หนังสือนอกหลักสูตร
    4. :หนังสือทุกประเภท:2

    030:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเรียกว่าอะไร
    1. :คำสั่ง
    2. :ข้อบังคับ
    3. :ระเบียบ
    4. :กฎกระทรวง:1

    031:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป เรียกว่าอะไร
    1. :แถลงการณ์
    2. :ประกาศ
    3. :คำสั่ง
    4. :ข่าว:4

    032:หนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานราชการหรือมีถึงบุคคลภายนอก คือ
    1. :หนังสือภายใน
    2. :หนังสือภายนอก
    3. :หนังสือประทับตรา
    4. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน:2

    033:การเก็บเอกสารที่ดีที่สุดควรปฏิบัติอย่างไร
    1. :เก็บเอกสารที่มีระบบเดียวตลอด
    2. :เก็บเอกสารที่มีอุปกรณ์พร้อม
    3. :เก็บเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ
    4. :เก็บเอกสารให้เป็นปัจจุบัน:4

    034:จุดประสงค์ที่สำคัญในการจัดเก็บเอกสารอย่างมีระบบไว้ในที่เดียวกัน คือ
    1. :ค้นหาเอกสารได้ทันท่วงที
    2. :เพื่อความปลอดภัยและเอกสารจะอยู่อย่างเป็นระเบียบ
    3. :เพื่อรวบรวมเอกสารไว้ในแหล่งที่มีผู้รับผิดชอบเป็นสัดส่วน
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    035:จดหมายราชการ ไม่ควรใช้สำนวนในข้อใด
    1. :ภาษานักประพันธ์หรือภาษาพูด
    2. :ถูกต้องตามสากลนิยม
    3. :เรียบร้อย
    4. :สุภาพ:1

    036:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
    1. :ตี
    2. :ตบ
    3. :เตะ
    4. :ต่อย:3

    037:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
    1. :โต
    2. :จิ๋ว
    3. :นิด
    4. :เล็ก:1

    038:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
    1. :ฉิ่ง
    2. :ซอ
    3. :กลอง
    4. :ระนาด:2

    039:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
    1. :มะขาม
    2. :มะยม
    3. :มะปราง
    4. :มะนาว:4

    040:คำตอบในข้อใดที่แตกต่างจากข้ออื่น
    1. :น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
    2. :ลิ้นกับฟัน
    3. :ขิงก็ราข่าก็แรง
    4. :เกลือจิ้มเกลือ:1

    041:พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไร
    1. :21
    2. :22
    3. :23
    4. :24:3

    042:สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
    1. :4 ปี
    2. :6 ปี
    3. :7 ปี
    4. :9 ปี:2

    043:จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี
    1. :500 คน
    2. :400 คน
    3. :200 คน
    4. :700 คน:1

    044:ใครดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
    1. :ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
    2. :ประธานศาลฎีกา
    3. :ประธานวุฒิสภา
    4. :ประธานสภาผู้แทนราษฎร:4

    045:ข้อใดเป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง
    1. :เลขานุการนายกรัฐมนตรี
    2. :เลขานุการคณะรัฐมนตรี
    3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    4. :ปลัดกระทรวง:1

    046:คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่คน
    1. :34
    2. :35
    3. :36
    4. :40:3

    047:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ได้ปรับปรุงมาจากระเบียบใด
    1. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2540
    2. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
    3. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    4. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543:2

    048:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
    1. :30 วัน
    2. :60 วัน
    3. :90 วัน
    4. :180 วัน:3

    049:"องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ไม่ได้หมายความถึงข้อใด
    1. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
    2. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา
    3. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
    4. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร:4

    050:ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 คำว่า "แผนพัฒนา" ไม่ได้หมายถึง
    1. :แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
    2. :แผนพัฒนาห้าปี
    3. :แผนพัฒนาสามปี
    4. :ไม่มีข้อถูกต้อง:2

    051:องค์กรจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการชุดใดไม่เกี่ยวข้องด้วย
    1. :คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
    2. :คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
    3. :คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
    4. :ถูกทุกข้อ:3

    052:คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล มีประธานกรรมการคือ
    1. :ประธานสภา อบต.
    2. :ปลัด อบต.
    3. :นายก อบต.
    4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:3

    053:คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลมีประธานคือ
    1. :ประธานสภา อบต.
    2. :ปลัด อบต.
    3. :นายก อบต.
    4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:2

    054:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา อบต. มีประธานกรรมการคือ
    1. :ประธานสภา อบต.
    2. :ปลัด อบต.
    3. :นายก อบต.
    4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:1


    055:คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น มีประธานกรรมการคือ
    1. :นายก อบต.
    2. :นายก อบจ.
    3. :ประธานสภา อบต.
    4. :ประธานสภา อบจ.:2

    056:คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีประธานกรรมการคือ
    1. :นายอำเภอ
    2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    3. :ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือก
    4. :หัวหน้าส่วนราชการที่ได้รับแต่งตั้ง:1

    057:การจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาสามปีให้แล้วเสร็จภายในเดือนใดก่อนงบประมาณประจำปี
    1. :มิถุนายน
    2. :ตุลาคม
    3. :สิงหาคม
    4. :ธันวาคม:1

    058:ผู้มีอำนาจขยายเวลาการจัดทำแผนพัฒนาสามปี คือผู้ใด
    1. :นายอำเภอ
    2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
    3. :สภาท้องถิ่น
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4

    059:การแก้ไขแผนพัฒนาเป็นอำนาจของใคร
    1. :นายอำเภอ
    2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
    3. :สภาท้องถิ่น
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

    060:ผู้ประกาศใช้แผนพัฒนาที่ได้รับการอนุมัติแล้วคือผู้ใด
    1. :ผู้บริหารท้องถิ่น
    2. :นายอำเภอ
    3. :สภาท้องถิ่น
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:1

    061:แผนปฏิบัติการให้จัดทำแล้วเสร็จภายในเดือนใดของปีงบประมาณนั้น
    1. :มิถุนายน
    2. :ตุลาคม
    3. :สิงหาคม
    4. :ธันวาคม:4

    062:การแก้ไขแผนปฏิบัติการเป็นอำนาจของใคร
    1. :นายอำเภอ
    2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
    3. :สภาท้องถิ่น
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

    063:ผู้มีอำนาจขยายเวลาการจัดทำแผนปฏิบัติการคือผู้ใด
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด
    3. :ผู้บริหารท้องถิ่นตามมติสภาท้องถิ่น
    4. :ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข:4

    064:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ต้องรายงานผลและเสนอความเห็น และต้องประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนใดของทุกปี
    1. :มิถุนายน
    2. :ตุลาคม
    3. :สิงหาคม
    4. :ธันวาคม:4

    065:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ต้องรายงานผลและเสนอความเห็น และต้องประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งต้องติดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่ากี่วัน
    1. :7 วัน
    2. :10 วัน
    3. :15 วัน
    4. :30 วัน:4

    066:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ให้ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจยกเว้น หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเขตจังหวัด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
    1. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
    2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    3. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
    4. :ประธานคณะกรรมการประสานแผนท้องถิ่น:2

    067:ข้อใดถูกต้องที่สุด
    1. :เงินสะสม หมายความว่าเงินที่เหลือจ่ายจากปีก่อน ๆ
    2. :ใบสำคัญคู่จ่าย หมายความว่าหลักฐานที่เป็นใบเสร็จรับเงิน
    3. :ตู้นิรภัย หมายถึงตู้เหล็กซึ่งใช้เก็บรักษาเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    4. :หลักฐานการจ่าย หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายให้แก่ผู้รับหรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันแล้ว:4

    068:ข้อใดถูกต้องที่สุด
    1. :การรับชำระเงินทุกประเภท จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำมาชำระทุกครั้งและให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มเดี่ยวกันทุกประเภท
    2. :หน่วยงานคลังบันทึกเงินที่ได้รับในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากวันใดก็ได้ในหนึ่งเดือนที่มีการรับเงิน
    3. :หน่วยงานคลังจัดให้มีการตรวจสอบจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บและนำส่งพร้อมกับหลักฐานและรายการที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคารว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
    4. :เงินประเภทใดมีใบเสร็จเงินหลายฉบับไม่สามารถจะรวมรับเงินประเภทนั้นตามสำเนาใบเสร็จทุกฉบับมาบันทึกในบัญชีรายการเดียวได้:3

    069: การเจาะปรุหรือประทับตราเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินจะกระทำเมื่อใด
    1. :เมื่อต้องการยกเลิกใบเสร็จ
    2. :เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
    3. :เมื่อใบเสร็จบางฉบับในหนึ่งเล่มสูญหาย
    4. :เมื่อใช้ใบเสร็จไม่หมดทั้งเล่มในหนึ่งเดือน:2

    070: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเก็บรักษาเงินสดไว้ในตู้นิรภัยได้จำนวนไม่เกินเท่าใด
    1. :10,000 บาท
    2. :20,000 บาท
    3. :40,000 บาท
    4. :50,000 บาท:2

    071:ใครเป็นผู้เก็บรักษาลูกกุญแจตู้นริภัย
    1. :รองนายก อบต.
    2. :กรรมการเก็บรักษาเงิน
    3. :ปลัด อบต.
    4. :หัวหน้าส่วนการคลัง:2

    072: การแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานต้องแต่งตั้งอย่างน้อยจำนวนเท่าใด
    1. :2 คน
    2. :3 คน
    3. :4 คน
    4. :5 คน: 2 (หัวหน้าคลังเป็นโดยตำแหน่ง)

    073:การแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการเก็บรักษาเงินจะต้องแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับใดขึ้นไปเป็นคณะกรรมการ
    1. :ระดับ 3 ขึ้นไป
    2. :ระดับ 4 ขึ้นไป
    3. :ระดับ 5 ขึ้นไป
    4. :ระดับ 6 ขึ้นไป:1

    074:กรณีในวันใดมีจำนวนเงินเกินอำนาจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเก็บรักษาไว้ได้จะต้องดำเนินการอย่างไร
    1. :ให้นายก อบต.เก็บรักษาไว้ ในวันรุ่งขึ้นให้มอบให้เจ้าหน้าที่การเงินนำฝากธนาคาร
    2. :ให้หัวหน้าส่วนการคลังเก็บรักษาไว้ในวันรุ่งขึ้นให้ นำเงินฝากธนาคาร
    3. :ให้นำฝากให้เสร็จสินภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทันให้นำฝากตู้นิรภัยและวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการถัดไปให้นำฝากธนาคาร
    4. :ให้ปลัด อบต.เก็บรักษาไว้ ในวันรุ่งขึ้นให้มอบให้เจ้าหน้าที่การเงินนำฝากธนาคาร:3

    075:การรับส่งเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเงินสดครั้งหนึ่งมีจำนวนเท่าใดให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อยสองคนเป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมการรับส่งเงิน
    1. :10,000 บาท
    2. :20,000 บาท
    3. :30,000 บาท
    4. :40,000 บาท:3

    076:ผู้ใดมีอำนาจในการถอนเงินฝากขององค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :นายก อบต. กับ ปลัด อบต.
    2. :นายก อบต. กับ หัวหน้าส่วนการคลัง
    3. :นายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กับ ปลัด อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
    4. :นายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กับ รองนายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย:3

    077:เงินที่เบิก ถ้าไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด ให้หน่วยงานผู้เบิกนำส่งคืนหน่วยงานคลังภายในกี่วัน
    1. :10 วัน
    2. :15 วัน
    3. :20 วัน
    4. :25 วัน:2

    078:การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
    1. :สัญญาซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของหรือเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้
    2. :ใบแจ้งหนี้ หรือใบส่งมอบทรัพย์หรือมอบงาน
    3. :เอกสารการตรวจรับทรัพย์สิน หรือตรวจรับงาน
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    079:กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก่อหนี้ผู้พันไว้ก่อนสิ้นปีโดยการสั่งซื้อ หรือสั่งจ้าง ถ้าเห็นว่าจะเบิกเงินไปชำระหนี้ผูกพันนั้นไม่ทันภายในปีให้ขออนุมัติเบิกตักปีต่อใคร
    1. :นายก อบต.
    2. :นายอำเภอ
    3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    4. :หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด:1

    080: การเบิกตัดปีจะกระทำได้ภายในเงื่อนไขใด
    1. :เป็นรายจ่ายงบกลาง หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวกับการบำรุงดูแลรักษาที่ดินและสิ่งก่อสร้างและหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
    2. :ต้องทำสัญญากันไว้เรียบร้อยแล้วและมีกำหนดการสิ้นสุดแห่งสัญญานั้นไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
    3. :ให้วางฎีกาเบิกตัดปี ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดก่อนวันสิ้นปีอย่างน้อยสามสิบวัน
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    081: ผู้ใดมีหน้าที่ในการตรวจฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :นายก อบต.
    2. :ปลัด อบต.
    3. :หัวหน้าส่วนการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบหมาย
    4. :เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี:3

    082:ผู้ใดเป็นผู้อนุมัติฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
    1. :หัวหน้าส่วนการคลัง
    2. :ปลัด อบต.
    3. :นายก อบต.
    4. :นายอำเภอ:3

    083:องค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินด้วยวิธีใด
    1. :จ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น
    2. :จ่ายเป็นเช็ค
    3. :จ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาล
    4. :จ่ายเป็นเช็คและเงินสด:2

    084:ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถรับเงินด้วยตนเองได้จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเป็นผู้รับแทนจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
    1. :นายก อบต.
    2. :ปลัด อบต.
    3. :หัวหน้าหน่วยงานคลัง
    4. :นายอำเภอ:3

    085: การจ่ายเงินในข้อใดต่อไปนี้ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยไม่ต้องทำบันทึกแจ้งเหตุผล
    1. :การจ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเงินไม่ถึงสิบบาท
    2. :การจ่ายเงินค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
    3. :การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจำทางหรือเรือยนต์ประจำทาง
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    086:ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้ยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลได้
    1. :หัวหน้าส่วนการคลัง
    2. :ปลัด อบต.
    3. :นายก อบต.
    4. :นายอำเภอ:3

    087:การจ่ายยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ
    1. :เมื่อพนักงานส่วนตำบลเป็นหนี้
    2. :มีงบประมาณเพื่อการนั้นแล้ว
    3. :ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งที่ได้กำหนดไว้สำหรับเรื่องนั้น
    4. :ข้อ ข และ ค ถูก:4

    088:การยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้ผู้ยืมส่งใบสำคัญและเงินที่เหลือจ่ายภายในกำหนดกี่วัน
    1. :15 วัน
    2. :20 วัน
    3. :25 วัน
    4. :30 วัน:1

    089:ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจยืมเงินสะสมในส่วนที่เก็บรักษาไว้เองทดรองจ่ายในกิจการที่อยู่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยได้รับอนุมัติจากใคร
    1. :นายก อบต.
    2. :คณะผู้บริหารท้องถิ่น
    3. :สภาท้องถิ่น
    4. :นายอำเภอ:3

    090:ข้อใดถูกต้องที่สุด
    1. :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายขาดเงินสะสมได้เมื่อได้รับอนุมัติจากนายอำเภอเท่านั้น
    2. :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายขาดเงินสะสมได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น
    3. :เมื่อได้กันเงินสะสมไว้เพียงพอที่จะสำรองจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่เหลือ แต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่าสามเดือนและอีกร้อยละยี่สิบห้าของยอดเงินสะสมคงเหลือเพื่อสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
    4. :ไม่มีข้อใดถูก:3

    091:หัวหน้าหน่วยงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบอื่น ๆ ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดเพื่อส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคตรวจสอบภายในกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
    1. :30 วัน
    2. :60 วัน
    3. :90 วัน
    4. :120 วัน:3

    092:เมื่อลงรายการจำนวนในใบเสร็จรับเงินผิดพลาดเมื่อต้องแก้ไขจะทำอย่างไร
    1. :ขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่ทั้งจำนวนพร้อมลงลายมือชื่อกำกับ
    2. :ขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่
    3. :ทำลายทิ้งทั้งฉบับยกเว้นสำเนา
    4. :ยกเลิกทั้งฉบับ:4

    093:เงินในข้อใดต่อไปนี้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้
    1. :เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
    2. :เงินที่ผู้อุทิศให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ไว้แล้ว
    3. :เงินที่จัดหาขึ้นเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ใช้งบประมาณ
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    094:ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
    1. :ใบเสร็จรับเงินเล่มใด ใช้สำหรับรับเงินของปีใด ให้ใช้รับเงินภายในปีนั้นเท่านั้น เมื่อขึ้นไปใหม่ก็ให้ใช้ใบเสร็จเล่มใหม่ ใบเสร็จรับเงินฉบับใดที่ยังไม่ใช้ให้คงติดไว้กับเล่มแต่เจาะปรุรูหรือ ประทับตราเลิกใช้เพื่อให้เป็นที่สังเกตมิให้นำมาใช้รับเงินได้ต่อไป
    2. :ใบเสร็จรับเงินเล่มใดใช้สำหรับรับเงินของปีนั้น เมื่อสิ้นปีให้ใช้ต่อไปได้และจัดทำรายงานสรุปเลขที่ใบเสร็จให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ
    3. :ใบเสร็จรับเงินห้ามขูด ลบ แก้ไข เพิ่มเติมจำนวน
    4. :หน่วยงานคลังต้องจัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน เพื่อทราบและตรวจสอบจำนวนที่จัดพิมพ์:4

    095:การยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลบุคคลใดเป็นผู้ลงนามในสัญญาการยืมเงิน
    1. :นายก อบต.
    2. :ปลัด อบต.
    3. :หัวหน้าส่วนการคลัง
    4. :ถูกทุกข้อ:1

    096:การขออนุมัติเบิกตัดปีต้องมีเงื่อนตามข้อใด
    1. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ
    2. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วและสัญญาสิ้นสุดไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
    3. :วางฏีกาเบิกเงินก่อนสิ้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 30 วัน
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    097:ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด
    1. :1 มกราคม 2526
    2. :1 มิถุนายน 2526
    3. :1 ตุลาคม 2526
    4. :1 เมษายน 2526:2

    098: ผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณคือใคร
    1. :นายกรัฐมนตรี
    2. :เลขาธิการ ก.พ.
    3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    4. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย:3

    099: หนังสือราชการมีกี่ชนิด
    1. :3 ชนิด
    2. :4 ชนิด
    3. :5 ชนิด
    4. :6 ชนิด:4

    100: หนังสือราชการคืออะไร
    1. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
    2. :เอกสารที่เป็นหนังสือสำคัญ
    3. :เอกสารที่เจ้าหน้าที่เรียกร้องให้นำส่ง
    4. :เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่ต้องติดแสตมป์:1






    ตอบ No. 2

    จาก ขงเบ้ง
    วันที่ 5/11/2548 5:19:51
    101: ตัวครุฑที่ใช้กระดาษราชการมี 2 ขนาด คือ ครุฑกลางสูง 3 ซม. ครุฑเล็กสูงเท่าใด
    1. :2.5 ซม.
    2. :2.0 ซม.
    3. :1.5 ซม.
    4. :1.0 ซม.:3

    102: การรับหนังสือมีวิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนอย่างใดตามลำดับก่อนหลัง
    1. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงชื่อรับหนังสือ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ
    2. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงทะเบียนรับ ประทับตราหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงชื่อรับหนังสือ
    3. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ
    4. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ:4

    103: หนังสือราชการคือ
    1. :เอกสารทางราชการ
    2. :เอกสารที่ราชการทำขึ้น
    3. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
    4. :เอกสารโต้ตอบในราชการ :3

    104: หนังสือภายนอกให้ใช้กระดาษชนิด
    1. :กระดาษบันทึกข้อความ
    2. :กระดาษตราครุฑ
    3. :กระดาษบันทึกหรือตราครุฑก็ได้
    4. :กระดาษที่ราชการกำหนด:2

    105: หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ใช้ได้ในกรณีใด
    1. :การส่งสิ่งของเอกสารหรือบรรณสารระหว่างส่วนราชการ
    2. :คำแนะนำ
    3. :แถลงการณ์
    4. :หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ:1

    106: หนังสือที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป เช่น
    1. :เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน
    2. :เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ
    3. :เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
    4. :ถูกทุกข้อ:3

    107: กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน
    1. :2 คน
    2. :3 คน
    3. :4 คน
    4. :เท่าใดก็ได้:2

    108: ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรี คำขึ้นต้นให้ใช้คำว่า
    1. :กราบเรียน
    2. :เรียน
    3. :เสนอ
    4. :ขอประธานกราบเรียน:2

    109: การจดบันทึก หรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
    1. :1 วิธี
    2. :2 วิธี
    3. :3 วิธี
    4. :4 วิธี:3

    110: หนังสือประทับตรา คืออะไร
    1. :หนังสือที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นคนลงนาม
    2. :หนังสือติดต่อราชการที่เป็นพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกและภายใน
    3. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
    4. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป:3

    111: หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด
    1. :2 ชนิด
    2. :3 ชนิด
    3. :4 ชนิด
    4. :5 ชนิด:2

    112: หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
    1. :1 ชนิด
    2. :2 ชนิด
    3. :3 ชนิด
    4. :4 ชนิด:3

    113: ประกาศจัดเป็นหนังสือชนิดใด
    1. :หนังสือสั่งการ
    2. :หนังสือประชาสัมพันธ์
    3. :หนังสือประทับตรา
    4. :หนังสือแถลงการณ์:2

    114: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
    1. :1 ชนิด
    2. :2 ชนิด
    3. :3 ชนิด
    4. :4 ชนิด:4

    115: หนังสือที่ต้องปฏิบัติเร็วกว่าปกติแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
    1. :1 ประเภท
    2. :2 ประเภท
    3. :3 ประเภท
    4. :4 ประเภท:3

    116: หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    1. :หนังสือที่ลงชื่อและหนังสือที่มิต้องลงชื่อ
    2. :หนังสือที่เป็นแบบพิธีและหนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี
    3. :หนังสือโต้ตอบและหนังสือแถลงข่าว
    4. :บันทึกช่วยจำ และบันทึกเตือนความจำ:1

    117: การพิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายเป็นหน้าที่ของ
    1. :หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
    2. :ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
    3. :คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้ง
    4. :คณะกรรมการที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้งโดยการเสนอของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม:3

    118: คำว่า "คำสั่ง" คือ
    1. :คำสั่งด้วยวาจา คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
    2. :การสั่งด้วยบันทึก ทางจดหมายและด้วยสื่อนำสาร
    3. :บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
    4. :การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละเรื่อง:3

    119: การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น
    1. :เก็บเข้าแฟ้มเพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องเดิม,เก็บเพื่อเป็นหลักฐานและเก็บเพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติ
    2. :การเก็บระหว่างปฏิบัติ,เก็บเมื่อปฏิบัติแล้วเสร็จและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบตลอดจนกำหนดระยะเวลาทำลายไว้
    3. :เก็บโดยมิดชิดปลอดภัยและกำหนดการเร่งด่วนในการขอย้าย
    4. :เก็บให้เป็นระเบียบเพื่อการค้นหาได้สะดวก:2

    120: การเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
    1. :5 ปี
    2. :10 ปี
    3. :15 ปี
    4. :ไม่มีข้อใดถูก:2

    121: ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ สำรวจหนังสือที่อายุครบการเก็บในปีนั้น จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทำลายหนังสือภายในกี่วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
    1. :30 วัน
    2. :60 วัน
    3. :120 วัน
    4. :1 ปี:2

    122: ระเบียบคือหนังสือชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด
    1. :หนังสื่อสั่งการ
    2. :หนังสือประทับตรา
    3. :หนังสือภายใน
    4. :หนังสือภายนอก:1

    123: คำสรรพนาม สำหรับเจ้าของหนังสือที่ว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" นอกจากจะใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีแล้ว ยังใช้กับ
    1. :สมเด็จพระบรมราชชนนี
    2. :สมเด็จเจ้าฟ้า
    3. :พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    124: งานสารบรรณ คือ
    1. :งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความเห็น
    2. :งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยราชการทั้งภายในและภายนอกหน่วย
    3. :งานที่ปฏิบัติด้วยหนังสือ นับตั้งแต่ คิด ร่าง เขียน แต่งพิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่ง รับ บันทึกย่อเรื่อง เสนอสั่งการ ตอบ เก็บเข้าที่และค้นหา
    4. :งานเกี่ยวกับธุรการทุกชนิด ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบ:3

    125: การปฏิบัติกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป คือ
    1. :ให้เก็บโดยมิดชิด ปลอดภัยและกำหนดความเร่งด่วนในการขนย้าย
    2. :เก็บใส่ตู้เอกสารที่มั่นคงแข็งแรงและกำหนดชั้นความลับ
    3. :ให้ประทับตราคำว่า "ห้ามทำลาย" ด้วยหมึกสีแดงที่หน้าแฟ้มเรื่องนั้น
    4. :เก็บให้เป็นระเบียบ แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน:3

    126: ผู้ที่มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คือใคร
    1. :หัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ
    2. :สำนักงาน ก.พ.
    3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    4. :ปลัดกระทรวงนั้น ๆ:3

    127: ประกาศ หรือแถลงการณ์ เป็นหนังสือชนิดใด
    1. :หนังสือสั่งการ
    2. :หนังสือประชาสัมพันธ์
    3. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายถือปฏิบัติตามนโยบาย
    4. :หนังสือประทับตรา:2

    128: ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีตายหรือขาดคุณสมบัติ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติ ดังนี้
    1. :รักษาราชการแทน
    2. :ปฏิบัติราชการแทน
    3. :ปฏิบัติหน้าที่แทน
    4. :ทำการแทน:3

    129: คำขึ้นต้นของหนังสือภายในถึงบุคคลธรรมดา ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
    1. :เรียน
    2. :ขอประทานเสนอ
    3. :ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบุคคล
    4. :ถึง:1

    130: บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ เรียกว่า
    1. :คำสั่ง
    2. :ระเบียบ
    3. :ข้อบังคับ
    4. :ประกาศ:2

    131: ข้อความใด ถูกต้องเกี่ยวกับข้อบังคับ
    1. :รายละเอียดของข้อบังคับมีหัวข้อเหมือนกับคำสั่ง
    2. :ผู้ออกข้อบังคับไม่จำเป็นจะต้องพิมพ์ชื่อเต็มไว้ด้วย
    3. :การเขียนข้อบังคับต้องมีชื่อส่วนราชการอยู่ด้วย
    4. :การเขียนวันที่ของข้อบังคับต้องเขียนเต็มโดยมี วันที่ เดือน พ.ศ.:3

    132: หนังสือราชการต่อไปนี้ ข้อใดต้องใช้กระดาษตราครุฑ
    1. :ข่าว
    2. :ประกาศ
    3. :แถลงการณ์
    4. :ข้อ ก และ ข ถูก:4

    133: หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้
    1. :รับรองบุคคล
    2. :รับรองนิติบุคคล
    3. :รับรองหน่วยงาน
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    134: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ได้รับ
    1. :หนังสือด่วนมาก
    2. :หนังสือด่วน
    3. :หนังสือด่วนที่สุด
    4. :หนังสือลับ:3

    135: ข้อใดคือลักษณะของหนังสือเวียน
    1. :หนังสือถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก
    2. :มีใจความอย่างเดียวกัน
    3. :มีรหัสตัวพยัญชนะ " ว "ที่หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    136: ข้อใดมิใช่ส่วนประกอบของตรารับหนังสือ
    1. :เลขที่
    2. :วันที่
    3. :เวลา
    4. :ลงชื่อผู้รับ:4

    137: ตรารับหนังสือราชการเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าตามขวาง มีขนาดมาตรฐานเท่าใด
    1. :2" X 2.5"
    2. :2" X 3"
    3. :2.5 X 5 ซม.
    4. :5 X 2.5 ซม.:3

    138: มาตรฐานของกระดาษ A 4 มีขนาดเท่าใด
    1. :148 มม. X 210 มม.
    2. :229 มม. X 324 มม.
    3. :52 มม. X 74 มม.
    4. :210 มม. X 297 มม.:4

    139: ตราครุฑที่ใช้เป็นแบบพิมพ์ ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าใด
    1. :3 ซม.
    2. :2 ซม.
    3. :1.5 ซม.
    4. :5 ซม.:1

    140: ซองที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณมีกี่ขนาด
    1. :4 ขนาด
    2. :5 ขนาด
    3. :6 ขนาด
    4. :7 ขนาด:1

    141: การประทับตรารับหนังสือเพื่อลง วันที่ เดือน พ.ศ. จะต้องประทับตราที่ใด
    1. :มุมบนด้านขวา
    2. :มุมบนด้านซ้าย
    3. :มุมล่างด้านขวา
    4. :มุมล่างด้านซ้าย:1

    142: คำลงท้ายถึงประธานองคมนตรี ใช้คำว่าอะไร
    1. :ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
    2. :ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
    3. :ขอแสดงความนับถือยิ่ง
    4. :ไม่มีข้อใดถูก:1

    143: หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องทีเกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
    1. :6 เดือน
    2. :1 ปี
    3. :1 ปี 6 เดือน
    4. :2 ปี:2

    144: " ใต้ฝ่าละอองพระบาท" เป็นสรรพนามที่ไม่ใช้สำหรับ
    1. :สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
    2. :สมเด็จพระบรมราชชนนี
    3. :สมเด็จพระยุพราช
    4. :สมเด็จพระบรมราชกุมารี:1

    145: ข้อใดคือคำย่อของกระทรวงมหาดไทย
    1. :มห.
    2. :มท.
    3. :มหท.
    4. :มด.:2

    146: ข้อใดคือคำขึ้นต้นและลงท้ายที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
    1. :นมัสการ – ขอนมัสการด้วยความเคารพ
    2. :กราบเรียน – กราบเรียนด้วยความเคารพ
    3. :การนมัสการ – ขอแสดงความเคารพ
    4. :นมัสการ - ขอแสดงความเคารพ:1

    147:พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
    1. :2 กุมภาพันธ์ 2537 มีผลบังคับใช้ 2 พฤษภาคม 2537
    2. :2 มีนาคม 2537 มีผลบังคับใช้ 2 มีนาคม 2537
    3. :2 พฤศจิกายน 2537 มีผลบังคับใช้ 2 พฤศจิกายน 2537
    4. :2 ธันวาคม 2537 มีผลบังคับใช้ 2 มีนาคม 2538:4

    148:พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่
    1. :2 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลบังคับใช้ 2 พฤษภาคม 2546
    2. :22 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลบังคับใช้ 22 กุมภาพันธ์ 2546
    3. :2 ธันวาคม 2546 มีผลบังคับใช้ 3 ธันวาคม 2546
    4. :22 ธันวาคม 2546 มีผลบังคับใช้ 23 ธันวาคม 2546:4

    149:บุคคลใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
    1. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
    2. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
    3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    4. :นายกรัฐมนตรี:1

    150:ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาตำบล
    1. :มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
    2. :สมาชิกสภาตำบลทุกคนมาจากการเลือกตั้ง
    3. :มีฐานะเป็นนิติบุคคล
    4. :สมาชิกสภาตำบลมีหมู่บ้านละ 2 คน:3

    151:บุคคลใดต่อไปนี้มิได้เป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง
    1. :กำนัน
    2. :ผู้ใหญ่บ้าน
    3. :แพทย์ประจำตำบล
    4. :สารวัตรกำนัน:4

    152:ผู้ใดมีหน้าที่จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล
    1. :กำนัน
    2. :นายอำเภอ
    3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    4. :คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กกต.):2

    153:สมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
    1. :2 ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
    2. :2 ปี นับแต่วันที่เลือกตั้ง
    3. :4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
    4. :5 ปี นับแต่วันที่เลือกตั้ง:3

    154:บุคคลใดเป็นประธานสภาตำบล
    1. :กำนัน
    2. :ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการคัดเลือก
    3. :สมาชิกสภาตำบลที่ได้รับคัดเลือก
    4. :ไม่มีข้อใดถูกต้อง:1

    155:บุคคลใดเป็นเลขานุการสภาตำบล
    1. :กำนัน
    2. :ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการคัดเลือก
    3. :สมาชิกสภาตำบลที่ได้รับคัดเลือก
    4. :ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นหรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายกำหนด:4

    156:บุคคลใดเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการสภาตำบล
    1. :ประธานสภาตำบล
    2. :สภาตำบล
    3. :นายอำเภอตามมติของสภาตำบล
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:3

    157:การประชุมสภาตำบล ข้อใดถูกต้อง
    1. :ให้มีการประชุมสภาตำบลไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
    2. :ให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
    3. :ให้มีการประชุมตามกำหนดสมัยประชุมที่สภาตำบลกำหนด
    4. :ไม่มีข้อใดถูกต้อง:1

    158:การยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล ต้องตราเป็นกฎหมายใด
    1. :พระราชกฤษฎีกา
    2. :พระราชบัญญัติ
    3. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
    4. :ประกาศกระทรวงมหาดไทย:4

    159:ในการจัดตั้ง อบต. ข้อใดถูกต้อง
    1. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
    2. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
    3. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละสองแสนห้าหมื่นบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
    4. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละสองแสนบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย:1

    160:องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
    1. :คณะผู้บริหาร และสมาชิกสภา อบต.
    2. :สภา อบต. และนายก อบต.
    3. :สภา อบต. และผู้บริหาร
    4. :คณะผู้บริหารและผู้บริหาร:2

    161:ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
    1. :ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบสภาตำบลทั้งหมดและ อบต. ใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับ อบต. หรือหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันภายในเก้าสิบวันนับแต่ที่มีเหตุดังกล่าว
    2. :อบต. มีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึง 1,500 คน ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบรวมได้ทันที
    3. :อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
    4. :อาจจัดตั้ง อบต. ขึ้นเป็นเทศบาลได้:2

    162:สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกตามข้อใด
    1. :สมาชิกสภา อบต. จำนวนหมู่บ้านละ 1 คน
    2. :สมาชิกสภา อบต. จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน
    3. :สมาชิกสภา อบต. ตำบลละ 12 คน
    4. :สมาชิกสภา อบต. ตำบลละ 24 คน:2

    163:ในเขต อบต. ที่มีจำนวนเพียง 1 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภา อบต. ได้กี่คน
    1. :4 คน
    2. :6 คน
    3. :8 คน
    4. :10 คน:2

    164:ในเขต อบต. ที่มีจำนวนเพียง 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภา อบต. จำนวนหมู่บ้านละกี่คน
    1. :3 คน
    2. :4 คน
    3. :6 คน
    4. :8 คน:1

    165:สมาชิกสภา อบต. มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
    1. :4 ปี
    2. :6 ปี
    3. : 8 ปี
    4. :10 ปี:1

    166:เขต อบต. มีจำนวน 11 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภา อบต. ได้กี่คน
    1. :11 คน
    2. :12 คน
    3. : 22 คน
    4. : 24 คน:3

    167:ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของสภา อบต.
    1. :ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
    2. :พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
    3. :ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบายและแผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    168:ข้อใดมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
    1. :เป็นพนักงานในบริษัทเสริมสุขจำกัด
    2. :เป็นลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร
    3. :เคยถูกไล่ออกจากการเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
    4. :อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง:1

    169:ในกรณีตำแหน่งประธานสภา อบต. ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกครบวาระให้เลือกตั้งประธานสภา อบต. ขึ้นแทนภายในกี่วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
    1. :15 วัน
    2. :30 วัน
    3. :45 วัน
    4. :60 วัน:1

    170:การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง จะไม่เลือกขึ้นแทนหากวาระของสมาชิกสภา อบต. เหลืออยู่ไม่ถึงกี่วัน
    1. :60 วัน
    2. :90 วัน
    3. :120 วัน
    4. :180 วัน:4

    171:การลาออกสมาชิกสภา อบต. ที่ทำให้สมาชิกภาพสิ้นสุดต้องเป็นการยื่นหนังสือลาออกต่อบุคคลใด
    1. :นายก อบต.
    2. :ประธานสภา อบต.
    3. :ปลัด อบต.
    4. : นายอำเภอ:4

    172:ในกรณีที่สภา อบต. มีมติให้สมาชิกสภา อบต. คนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย มติของสมาชิกสภา อบต. ดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใด
    1. :หนึ่งในสาม
    2. : กึ่งหนึ่ง
    3. :สองในสาม
    4. : สามในสี่:4

    173:บุคคลใดเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภา อบต.
    1. :นายอำเภอตามมติสภา อบต.
    2. :ผู้ว่าราชการตามคำเสนอของนายอำเภอ
    3. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
    4. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย:1

    174:ในปีหนึ่ง กฎหมาย อบต. ได้กำหนดให้มีสมัยประชุมสามัญปีละกี่สมัย
    1. :สองสมัย
    2. :สองไม่เกินสามสมัย
    3. :สองสมัยหรือหลายสมัยแล้วแต่สภา อบต. กำหนดแต่ไม่เกินสี่สมัย
    4. :สี่สมัย:3

    175:การประชุมสภา อบต. ครั้งแรก ต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุมภายในระยะเวลาใด นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
    1. :45 วัน
    2. :30 วัน
    3. :25 วัน
    4. :15 วัน:4

    176:การประชุมสภาสามัญสมัยหนึ่ง ๆ ของ อบต. มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินกี่วัน
    1. :90 วัน
    2. :60 วัน
    3. :30 วัน
    4. :15 วัน:4

    177:ในการประชุมสภา อบต. สมัยสามัญนั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับการอนุญาตจากบุคคลใด
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:2

    178:บุคคลใดเป็นผู้เรียกประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:4

    179:ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภา อบต. หรือประธานสภา อบต. ไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย บุคคลใดเป็นผู้เรียกและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
    1. : ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:2

    180:นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ อบต. บุคคลใดสามารถทำคำร้องขอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญได้
    1. :ประธานสภา อบต.
    2. :นายก อบต.
    3. :สมาชิกสภา อบต. จำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. เท่าที่มีอยู่
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    181:บุคคลใดเป็นผู้ประกาศเรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญ
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:2

    182:องค์ประชุมสภา อบต. ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใด
    1. :กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
    2. :กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดในที่ประชุม
    3. :เท่าใดก็ได้แล้วแต่ที่ประชุมตกลงกันเอง
    4. :ไม่มีข้อใดถูกต้อง:1

    183: ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบกรณีที่ อบต. ทำกิจการนอกเขตสภา อบต. หรือกรณีร่วมกับสภาตำบล อบต. หรือ อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อทำกิจการร่วมกันได้
    1. : สภา อบต.
    2. :นายก อบต. โดยมติสภา
    3. :นายอำเภอ
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

    184: ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภา อบต. ซึ่งได้รับการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย หรือมิได้ประจำในหมู่บ้านที่ไดรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 6 เดือน หรือขาดประชุมสภา อบต. ติดต่อกันสามครั้ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
    1. :ประธานสภา อบต.
    2. :นายก อบต. โดยมติสภา
    3. :นายอำเภอ
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:3

    185: ข้อใดเป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
    1. :มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านของตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
    2. :สัญชาติไทยโดยการเกิด
    3. :มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    186: บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขต อบต. ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเท่าใด นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
    1. :สามเดือนจนถึงวันเลือกตั้ง
    2. :หกเดือนจนถึงวันเลือกตั้ง
    3. :หนึ่งปีจนถึงวันเลือกตั้ง
    4. :ไม่มีข้อใดถูก:3

    187: ในกรณีที่สมาชิกสภา อบต. พ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระ จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในระยะเวลากี่วันนับแต่วันที่ครบวาระ
    1. :15 วัน
    2. :30 วัน
    3. :45 วัน
    4. :60 วัน:3

    188: การบริหารงานในรูปแบบ อบต. นายก อบต. อาจแต่งตั้งรองนายก อบต. ได้ไม่เกินกี่คน
    1. :1 คน
    2. :2 คน
    3. :3 คน
    4. :4 คน:2

    189: บุคคลใดเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    1. :นายก อบต.
    2. :พนักงานส่วนตำบล
    3. :สมาชิกสภา อบต.
    4. :ราษฎรในเขต อบต. ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น:1

    190: สมาชิกสภา อบต. จำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในการประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติ
    1. :หนึ่งในสอง
    2. : หนึ่งในสาม
    3. :สามในสี่
    4. :สองในสาม:2

    191: บุคคลใดมีอำนาจสั่งให้มีการยุบสภา อบต. ได้ ตามกฎหมาย
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:1

    192: ข้อใดเป็นรายได้ที่ อบต.จัดเก็บเอง
    1. :ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรฆ่า...และค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่า...
    2. :ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ภาษีธุรกิจเฉพาะ
    3. :ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
    4. :ภาษีมูลค่าเพิ่ม:1

    193: ข้อใดเป็นประเภทรายจ่ายของ อบต.ตามกฎหมาย
    1. :เงินเดือนและค่าจ้างประจำ
    2. :ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
    3. :ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    194: บุคคลใดมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ อบต. ตามกฎหมายนี้
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:2

    195: ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ อบต. เมื่อสภา อบต. เห็นชอบแล้วต้องเสนอบุคคลใดเป็นผู้อนุมัติก่อน อบต. นำไปประกาศใช้
    1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
    2. :นายอำเภอ
    3. :นายก อบต.
    4. :ประธานสภา อบต.:2

    196: ในกรณีที่สภา อบต. ไม่รับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี นายอำเภอต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจาณณาหาข้อยุติความขัดแย้งกี่คน
    1. :10 คน
    2. : 9 คน
    3. :7 คน
    4. :5 คน:3

    197: องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเป็นราชการบริหารส่วนใด
    1. :ส่วนกลาง
    2. :ส่วนภูมิภาค
    3. :ส่วนท้องถิ่น
    4. : ไม่มีข้อใดถูกต้อง:3

    198: ข้อใดมิได้เป็นเงินรายได้ของ อบต.
    1. :เงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้
    2. :รายได้จากทรัพย์สินของ อบต.
    3. :เงินค่าธรรมเนียมที่เก็บจากผู้มาพักโรงแรม
    4. :เงินค่าบริการน้ำประปาแก่ประชาชน:3

    199: ตามกฎหมายระบุให้นายก อบต. จะต้องจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. อย่างไร
    1. :เป็นประจำทุกปี
    2. :ปีละ 2 ครั้ง
    3. :ทุกรอบ 4 เดือน
    4. :ทุกรอบ 2 ปี:1

    200: กฎหมายที่ออกเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เรียกว่า
    1. :ข้อบังคับตำบล
    2. :ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
    3. :ข้อบัญญัติตำบล
    4. :ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล:4

    201: ผู้อนุญาตให้ อบต. ...้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือนิติบุคคลต่างๆ ได้ คือ
    1. :นายก อบต.
    2. :สภา อบต.
    3. :นายอำเภอ
    4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

    202: การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีกี่ประเภท
    1. :1 ประเภท
    2. : 2 ประเภท
    3. : 3 ประเภท
    4. :4 ประเภท:2

    203: การกำหนดสมัยประชุมสามัญประจำปี ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    1. :ให้ทำเป็นคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบล
    2. :ให้ทำเป็นประกาศสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
    3. :ให้ทำเป็นข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
    4. :ให้ทำเป็นข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล:2

    204: การจัดระเบียบวาระการประชุม โดยปกติจัดลำดับการพิจารณาข้อปรึกษาในอันดับก่อนหลังดังนี้
    1. :รับรองรายงานการประชุม , เรื่องด่วน , ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , ญัตติอื่นๆ
    2. :เรื่องด่วน , ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , ญัตติอื่นๆ , รับรองรายงานการประชุม
    3. :ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , เรื่องด่วน , ญัตติอื่นๆ , รับรองรายงานการประชุม
    4. :เรื่องด่วน , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , ญัตติอื่นๆ , รับรองรายงานการประชุม , ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา:1

    205: การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข้อใด ถูกต้อง
    1. :การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ ต่อประธานสภา อบต. จะต้องมีสมาชิกสภา อบต. รับรองอย่างน้อย 2 คน
    2. :การเสนอญัติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลใด ถ้าคณะผู้บริหาร อบต. เป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง
    3. :ถ้าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เสนอร่างข้อบังคับตำบลเกี่ยวด้วยการเงินต้องให้นายก อบต. รับรอง
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    206: ในการพิจารณาข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภา อบต. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น
    1. :15 วัน
    2. :30 วัน
    3. :45 วัน
    4. :60 วัน:4

    207: หากปรากฏว่านายก อบต. รองนายก อบต. ประธานสภา อบต. หรือรองประธานสภา อบต. กระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ บุคคลใดดำเนินการสอบสวนได้
    1. :นายอำเภอ
    2. :ผู้วาราชการจังหวัด
    3. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
    4. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น:1

    208: ในกรณีที่นายก อบต. ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายก อบต. ตามลำดับที่นายก อบต. แต่งตั้งไว้ เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองนายก หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บุคคลใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
    1. :แต่งตั้งปลัด อบต. เป็นผู้รักษาราชการแทน
    2. :แต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลเป็นผู้รักษาราชการแทน
    3. :แต่งตั้งประธานสภาเป็นผู้รักษาราชการแทน
    4. :แต่งตั้งสมาชิกสภา อบต. คนหนึ่งเป็นผู้ว่าราชการแทน:1

    209: ในเขต อบต. บุคคลใดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีละเมิดข้อบัญญัติ
    1. :ประธานสภา อบต.
    2. :สมาชิกสภา อบต.
    3. :นายก อบต.
    4. :เลขานุการสภา อบต.:3

    210: บุคคลใดเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง อบต.
    1. :นายก อบต.
    2. :ประธานสภา อบต.
    3. :ปลัด อบต.
    4. :รองนายก อบต.:1

    211: กรณีใดดังต่อไปนี้ ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของนายก อบต.
    1. :ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
    2. :ถูกคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
    3. :ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
    4. :นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยกฎหมาย:4

    212: ก่อนนายก อบต. เข้ารับหน้าที่ให้ประธานสภา อบต. เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติภายในกี่วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายก อบต.
    1. :15 วัน
    2. :20 วัน
    3. :30 วัน
    4. :45 วัน:3

    213: ข้อใดต่อไปนี้ คือคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบต.
    1. :มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
    2. :สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
    3. :ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต หรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือเลขานุการหรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
    4. :ถูกทุกข้อ:4

    214: นายก อบต. มีที่มา ตามขอใด
    1. :มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
    2. :มาจากการแต่งตั้งของนายอำเภอ
    3. :มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมของสมาชิกสภา อบต.
    4. :มาจากการแต่งตั้งโดยตรงของสมาชิกสภา อบต.:1

    215: บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่
    1. :18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
    2. :18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
    3. :20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
    4. :20 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง:1

    216: ในกรณีที่สภา อบต. ส่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีของ อบต. ให้นายอำเภออนุมัติ แต่ปรากฏล่วงเลยมา 20 วัน แล้วยังไม่มีคำตอบ จากนายอำเภอ ข้อบัญญัติดังกล่าวจะมีผลอย่างไร
    1. :ให้ถือว่านายอำเภออนุมัติร่างข้อบัญญัติดังกล่าว
    2. :สภา อบต. ทวงถามขอส่งร่างข้อบัญญัตินั้นคืนมาให้สภาทบทวน
    3. :ร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
    4. :สภา อบต. นำร่างข้อบัญญัตินั้นมาทบทวนถ้ายืนยันตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสภา อบต. เท่าที่มีอยู่ให้ส่งให้นายก อบต.ประกาศใช้ข้อบัญญัตินั้นได้เลย:1

    217: ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งกระทู้ถามในการประชุมสภา อบต.
    1. :กระทู้ถามไม่มีการอภิปรายและไม่มีการลงมติ
    2. :ห้ามไม่ให้สมาชิกสภา อบต. ตั้งกระทู้ถามกันเอง
    3. :คณะผู้บริหารจะต้องตอบกระทู้กระทู้ถามนั้นทุกครั้ง
    4. :กระทู้ถามต้องทำเป็นหนังสือเสนอล่วงหน้าต่อประธานสภา อบต.:3

    218: การกำหนดสมัยประชุมสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องพิจารณาในเดือนใด
    1. :กุมภาพันธ์
    2. :มิถุนายน
    3. :สิงหาคม
    4. :แล้วแต่สภา อบต. กำหนด:3

    219: กรณีที่สภา อบต. ไม่รับหลักการร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เสนอจะต้องดำเนินการอย่างไร
    1. :นายก อบต.ต้องพ้นจากตำแหน่ง
    2. :นายก อบต. แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยการแก้ไขปรับปรุงในข้อบัญญัตินั้น
    3. :นายอำเภอประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่
    4. :นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยการแก้ไขปรับปรุงในข้อบัญญัตินั้น:4

    220: ข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีการกำหนดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บได้ จะกำหนดโทษปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติได้ไม่เกินกี่บาท
    1. :500 บาท
    2. : ไม่เกิน 500 บาท
    3. :1,000 บาท
    4. : ไม่เกิน 1,000 บาท:4

    ....ขอขอบ ขงเบ้ง....

    Read More