Saturday, August 21, 2010

เสน่ห์ทางกระแสจิต

เป็นเสน่ห์ชนิดที่มีพลังชะโลมได้มากกว่าอย่างอื่น เช่น แค่เข้าใกล้รัศมีใครบางคนคุณก็รู้สึกเยือกเย็น หรือกระทั่งเกิดความเงียบสงัดไร้ความคิดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม กระแสจิตของบางคนอาจเปี่ยมด้วยอิทธิพลแห่งพลังดึงดูดและพลังประทับได้ยิ่งกว่าเสน่ห์ทางกายกับวาจารวมกันเสียอีก หากคุณเคยมีประสบการณ์ผ่านพบใครบางคน ที่คุณอยู่ใกล้ๆแล้วเกิดความอยากอยู่ใกล้ เมื่อห่างไปก็ถวิลถึง แม้รูปร่างหน้าตาของเขาไม่จัดว่าเลอเลิศ กับทั้งถ้อยทีเจรจาก็งั้นๆ นั่นแหละครับตัวอย่างของคนมีเสน่ห์ทางกระแสจิตขั้นรุนแรง
เสน่ห์แห่งกระแสจิตนั้น เป็นสิ่งเห็นไม่ได้ด้วยตา จับต้องไม่ได้ด้วยมือ ทว่าง่ายที่จะสัมผัสด้วยใจ และแม้คุณพบเจอจังๆ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทว่าในเมื่อไม่เคยมีใครขอให้คุณอธิบาย คุณเลยไม่เคยฝึกจำแนกแยกแยะว่ากระแสจิตมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีพลังเสน่ห์จับใจได้แตกต่างกันสักแค่ไหน
จิตมนุษย์ที่กระจายออกมาให้สัมผัสได้นั้น มีกระแสพลังจากแหล่งต่างๆได้หลายหลาก อาทิเช่น พลังความคิด พลังจากมหากุศลที่ประกอบแล้ว พลังความสว่างทางปัญญาที่รู้ชอบในธรรมะ พลังสุขภาพ พลังของหน้าที่ พลังของอิทธิพลต่อหมู่คน พลังของที่อยู่อาศัย พลังของพาหนะส่วนตัว พลังของอัญมณี พลังของสัตว์ที่ผูกพันแน่นเหนียว พลังไสยศาสตร์ ตลอดไปจนกระทั่งพลังของเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง โดยย่นย่อกระแสจิตจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับวิธีมีตัวตนของแต่ละคน
ผมอาจแจกแจงที่มาที่ไปและชนิดของเสน่ห์ทางกระแสจิตอย่างละเอียดเป็นหนังสือเล่มหนึ่งได้โดยเฉพาะ แต่ในที่จำกัดนี้คงกล่าวเพียงสังเขปในแง่ “วิธีคิดอันเป็นต้นตอเสน่ห์ทางกระแสจิต” เพราะเสน่ห์ทางกระแสจิตของมนุษย์ธรรมดาจะเป็นไปตามวิธีคิด สายความคิดของมนุษย์ทั่วไปจะไม่ค่อยขาดสาย จึงปรุงแต่งให้จิตเป็นไปต่างๆนานาได้มากกว่าปัจจัยอื่น

Read More

เสน่ห์ทางวาจา

เป็นเสน่ห์ที่มีพลังฝ่ายประทับมากกว่าอย่างอื่น เช่น ฟังพูดแล้วติดหูไม่รู้ลืม ราวกับพลังเสียงและสำเนียงพูดบุกรุกเข้ามาฝังตัวและกลอกกลิ้งอยู่ในแก้วหูคนฟังได้ พอห่างกันแล้วถวิลถึงราวกับโดนเสน่ห์ยาแฝด
เสน่ห์ทางวาจาจะแผลงฤทธิ์เต็มที่ต่อเมื่อผู้พูดมีโอกาสฉายไม้เด็ดสักประโยคสองประโยค การโอภาปราศรัยทักทายเพียงคำสองคำอาจจะยังไม่ได้ผลนัก แต่หากได้ช่องสำแดงเดชเต็มกำลัง เสน่ห์ทางวาจาก็อาจชวนให้หวนคิดถึงได้ยิ่งกว่าเสน่ห์ทางกายมาก เนื่องจากความทรงจำเกี่ยวกับส่ำเสียงและถ้อยคำจะยืนยาวกว่าความทรงจำเกี่ยวกับรูปลักษณ์
เสน่ห์ทางวาจาที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างเห็นภาพง่ายที่สุดคงได้แก่วิธีรบเร้าหรือวิธีตื๊อของแต่ละคน บางคนตื๊อแล้วน่ารัก แต่หลายคนตื๊อแล้วน่ารำคาญ ทั้งที่ก็เป็นการรบกวนผู้ฟังเหมือนๆ กัน นี่ก็เพราะบางคนเท่านั้นที่มีพลังเสน่ห์ทางวาจา ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่มี
เสน่ห์ทางวาจามีองค์ประกอบหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนก็เกิดจากกรรมเกี่ยวกับวาจาทั้งในอดีตและปัจจุบันรวมกันทั้งสิ้น องค์ประกอบหลักของเสน่ห์ทางวาจาจำแนกได้เป็น ๓ ส่วนดังนี้
๑) ความไพเราะของแก้วเสียง เกิดขึ้นจากความเป็นผู้มีวาจาสุจริต ทั้งพูดเรื่องจริงเท่าที่ควรพูด เลือกคำที่ฟังรื่นหูไม่หยาบคาย หาวิธีพูดประนีประนอมไม่เสียดสีใคร ตลอดจนครองสติในการพูดเพื่อประโยชน์ได้เสมอ องค์ประกอบหลักเหล่านี้จะปรุงแต่งแก้วเสียงให้ฟังดี ฟังเย็น และฟังมีพลังสะกด ถ้ายิ่งหมั่นสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ตลอดจนเปล่งเสียงประกาศธรรมอันชอบโดยไม่เคอะเขิน แก้วเสียงก็จะเปล่งประกายสดใสเพราะพริ้งได้ตั้งแต่ชาติปัจจุบัน และไปปรากฏผลชัดที่สุดในชาติถัดมา น้ำเสียงและสำเนียงจะกลมกล่อมไม่บาดหูเลย (เว้นไว้แต่จะหลงผิด พูดจาเป็นอัปมงคลนานปีจนกำลังของวจีทุจริตใหม่ชนะกำลังของวจีสุจริตเก่า)
๒) ลูกเล่นในการจำนรรจา เกิดขึ้นจากความเป็นผู้ใส่ใจเจรจาให้น่าเอ็นดู เป็นที่ถูกใจ ทำความบันเทิงสดใสแก่ผู้ฟัง ยกตัวอย่างเช่นพวกชอบเล่านิทานให้เด็กฟัง ด้วยความหวังว่าเด็กจะได้สนุกสนาน ได้ข้อคิด และได้มองโลกในแง่ดีมีความอบอุ่น กรรมอันเกิดจากการฝึกเล่านิทานจริงจังจะบันดาลให้เกิดสัญชาตญาณในการมัดใจด้วยลีลาพูด คือรู้เองว่าด้วยลูกเล่นการออกเสียงสั้นยาว ลงเสียงหนักเบา ตลอดจนควบกล้ำอย่างไรให้ฟังน่ารักน่าใคร่ ชัดถ้อยชัดคำ พวกนี้ถ้าทำงานพากย์จะประสบความสำเร็จง่ายมาก และอาจจะไม่ต้องร่ำเรียนที่ไหนก็เก่งได้ยิ่งกว่ามืออาชีพที่คร่ำหวอดมานมนาน
๓) ความฉลาดเลือกคำ เกิดขึ้นจากความเป็นผู้คิดก่อนพูด ใช้สติในการง้างปากที่อ้ายาก ไม่ใช่ปล่อยให้อารมณ์บงการปากที่ไร้หูรูด ธรรมชาติของสตินั้น ยิ่งฝึกฝนให้เพิ่มมากขึ้นเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งทวีขึ้นเท่านั้น
คนที่ไม่ค่อยใส่ใจกับการพูดนั้น นอกจากจะขาดเสน่ห์ทางวาจาแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดข้อน่ารังเกียจได้มากมาย เช่นคนพูดส่อเสียดและใส่ไคล้ผู้อื่นบ่อยๆมักมีกลิ่นปากเหม็นเน่า คนติดพูดคำหยาบคายกระโชกโฮกฮากมักมีสำเนียงเสียงไม่รื่นหูไม่ชวนฟัง เป็นต้น

Read More

เสน่ห์ทางกาย

เป็นเสน่ห์ที่เน้นพลังฝ่ายดึงดูดมากกว่าอย่างอื่น เช่นเห็นแล้วดึงดูดให้อยากมองนานๆ ยากจะถอนสายตา หรือกระทั่งอยากถลาเข้าไปลองสัมผัสให้ได้เดี๋ยวนั้น
เสน่ห์ทางกายปรากฏเด่นเห็นง่ายสุด จับต้องได้ง่ายสุด เพราะกายมนุษย์เปล่งประกายเสน่ห์ได้ผ่านความสมส่วนแห่งรูปพรรณสัณฐาน ตลอดจนความผ่องใสมีสง่าราศีแห่งผิวพรรณ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหรือพิธีรีตองใดๆ ในการเปล่งประกายเสน่ห์ชนิดนี้ แค่ปรากฏตัวก็ใช้ได้แล้ว
ความเปล่งปลั่งชนิดบาดตาได้ตั้งแต่แรกพบนั้น เป็นผลอันเกิดจากการให้ทานที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ไม่มีความขัดข้องทางใจเท่ายองใย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโอกาสถวายทานแด่พระพุทธเจ้าหรืออริยะสงฆ์สาวก แล้วรักษาความเลื่อมใสนั้นไว้ได้ตลอดชีวิต ก็จะมีความรุ่งเรืองปรากฏชัดทางผิวหนังตั้งแต่ในชาติแห่งทานนั้น แล้วปรากฏชัดเจนในชาติถัดมา ไม่ว่าจะเป็นเทพหรือมนุษย์
ความสมส่วนแห่งรูปพรรณสัณฐานจะเกิดจากความมีศีลสะอาดเป็นหลัก รายละเอียดและมิติของรูปร่างหน้าตาที่ล่อตาชวนตะลึง กลิ่นกายที่น่าพิสมัย ตลอดจนความละเอียดน่าสัมผัสของผิวหนังที่เหมาะกับเพศนั้น บันดาลขึ้นจากความสามารถในการ “งดเว้น” ความประพฤติทางกายและวาจาอันสกปรกเน่าเหม็นจนเคยชิน กระทั่งแม้ความคิดก็ไม่หลุดออกนอกกรอบของศีล พูดง่ายๆ ว่าเป็นผู้เคยมีศีลอันมั่นคงแข็งแรง จิตสะอาดสะอ้านจากมลทินยิ่ง จึงบันดาลให้เกิดผลงดงามไร้ที่ติ กระทบตาผู้คนแล้วชวนหลงไหลยิ่ง
คนที่ไม่ค่อยทำบุญกับบุคคลศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ่อยๆ มักมีอำนาจเสน่ห์ทางกายน้อย เนื่องจากโอกาสที่จิตจะเปล่งประกายความเลื่อมใสอย่างแรงกล้าขณะทำบุญนั้นยากนัก

Read More

หญิงกับชาย...ใครร้ายกว่ากัน

คนที่กำลังโกรธมักจะตาขวาง พูดหยาบคาย เสียงดัง กำหมัด กัดฟัน หรือตัวสั่น ผู้ชายที่มีหนวดยาวสักหน่อย อาจโกรธจนหนวดกระดิก คนผิวขาวแบบฝรั่งหรือชาวญี่ปุ่น อาจโกรธจนหน้าแดง เรียกว่า เลือดขึ้นหน้า ส่วนคนผิวดำเวลาโกรธเลือดขึ้นหน้าเหมือนกัน แต่สีหน้าจะแดงไม่ชัด หากเห็นคนผิวคล้ำกำลังโกรธ อย่าไปจ้องมองว่าหน้าเขาเป็นสีอะไร เพราะอาจโดนเจ้าของใบหน้ายกหมัดทิ่มตาขี้สงสัยจนบวม หมดโอกาสดูสีหน้าใครๆ ไปอีกหลายวัน ความโกรธ ความก้าวร้าวหรือโทสะ จัดเป็นหนึ่งในสามของกิเลสตัวร้ายทางพุทธศาสนา เป็นยาพิษขนานเอกที่คอยกัดกร่อนจิตใจให้เป็นทุกข์อย่างไม่รู้จบสิ้น นอกจากจะทำให้ตนเองไม่มีความสุขแล้ว ยังพลอยทำให้คนแวดล้อมอยู่อย่างไม่สงบไปด้วย ความก้าวร้าวเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนป่วยทางจิตใจ และพบได้บ่อยพอๆ กับการแสดงความรัก ความห่วงใยต่อกัน ความก้าวร้าวอย่างรุนแรง เช่น

ฆาตกรรม การข่มขืน การประท้วงอย่างไม่สงบ การทำทารุณกรรมกับเด็กหรือผัวเมียตีกัน เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ความเจริญทางวัตถุทำให้เรามีความเป็นอยู่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันความแออัดบวกกับการแข่งขันกันเพื่อปากท้อง ซึ่งติดตามความเจริญมาด้วย ก่อให้เกิดความเครียด อันเป็นสาเหตุประการหนึ่งของความก้าวร้าว นอกจากความเครียด ความหนาแน่นของประชากร และความแออัดของฝูงชนแล้ว ยังมีสาเหตุอีกหลายประการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวขึ้น ได้แก่สถานการณ์บางอย่าง เช่น พบคนที่เกลียด ถูกทำให้เจ็บปวด การแข่งขัน หรือถูกแย่งตำแหน่ง การเสียหน้า ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม เห็นผู้อื่นกระทำสิ่งที่ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ ทำเพื่อปกป้อง การแย่งชิงเพศตรงข้าม หรือต้องการแสดงความเหนือว่า คนส่วนหนึ่งโดยเฉพาะผู้ใหญ่จะแสดงความก้าวร้าว กับคนในครอบครัวมากกว่าคนที่ไม่คุ้นเคย ส่วนวัยรุ่นจะก้าวร้าวกับคนแปลกหน้าค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะวัยรุ่นยังมีประสบการณ์น้อย จึงก้าวร้าวกับคนอื่นโดยไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้เรียนรู้ว่าการแสดงความก้าวร้าว เป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ต้องการ จึงพยายามควบคุมเอาไว้ และสามารถทำได้กับคนแปลกหน้า แต่เมื่ออยู่กับคนในครอบครัว กลับไม่สามารถควบคุมเอาไว้ได้ คนที่โตมากับครอบครัวซึ่งมักแสดงความก้าวร้าวต่อกัน มีแนวโน้มเป็นคนก้าวร้าว อธิบายว่า เป็นผลจากกรรมพันธุ์พฤติกรรมเลียนแบบ และการเลี้ยงดูโดยมีการส่งเสริมพฤติกรรมก้าวร้าว อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดซ้ำๆ เช่น ผู้ใหญ่คอยส่งเสียงเชียร์เด็กที่ถือไม้ไล่ตีแมว เมื่อเด็กตีถูกผู้ใหญ่ก็ส่งเสียงเฮ! ลั่น ตบไม้ตบมือชอบใจและชมเด็กว่าเก่ง เด็กจะเรียนรู้อย่างผิดๆ ว่า สิ่งที่ตนเองกำลังทำเป็นสิ่งดี เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และจะทำซ้ำอีกเมื่อมีโอกาส นอกจากนั้นลักษณะครอบครัวที่ไม่ปรองดองกัน ครอบครัวแตกแยกโดยพ่อแม่แยกทางกันหรือหย่าร้าง มีการเสียชีวิตย้ายที่อยู่บ่อยมาก มีการทำทารุณกรรมเด็ก หรือผู้ปกครองติดสุราก็ทำให้เด็กมีแนวโน้มก้าวร้าวได้เมื่อโตขึ้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวชักนำให้เกิดความก้าวร้าว ได้อย่างร้ายกาจ พบว่าผู้ก่อคดีต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่ง ได้ดื่มสุราเข้าไปก่อนก่ออาชญากรรมทั้งสิ้น ความจริงแล้วการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยๆ ทำให้เกิดความรู้สึกครึ้มหรืออารมณ์ดีได้ น่าเสียดายที่คนจำนวนมากมิได้หยุดดื่มเพียงแค่นั้น แต่กลับดื่มมากจนกระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวขึ้น ทั้งนี้เพราะแอลกอฮอล์จะลดความยับยั้งชั่งใจ ทำให้การควบคุมอารมณ์ไม่ดีพอ การตัดสินใจเรื่องต่างๆ จึงเสียไป สารเสพติดและยาบางชนิดก็ทำให้เกิดความก้าวร้าวได้ โดยกลไกที่คล้ายๆ กัน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นสาเหตุของความก้าวร้าวได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ได้ยินบ่อยๆ ได้แก่ ความโมโหหิวในนิยายพื้นบ้านเรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคลมชัก ปัญญาอ่อน โรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน (AFFECTIVE DISORDERS) และอีกหลายโรคเป็นต้นแหตุของความก้าวร้าวได้ในบางช่วงของอาการ นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมบางอย่างสามารถกระตุ้น ให้เกิดความก้าวร้าวขึ้นได้ เช่น ความร้อน การมีอาวุธอยู่ใกล้หรือในมือ โดยเฉพาะปืน ตัวอย่างเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" เป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดี สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความก้าวร้าว และนำไปสู่ชื่อเรื่อง "หญิงกับชาย...ใครร้ายกว่ากัน" ได้แก่เพศที่แตกต่างกัน เด็กผู้ชายมักก้าวร้าวมากกว่าเด็กผู้หญิง เห็นได้ว่าเด็กผู้ชายจะเล่นรุนแรงมีลักษณะในทางทำลายของ วิ่งและกระโดดมากกว่าเด็กผู้หญิง เพศที่ต่างกันอาจเป็นตัวกำหนดการเกิดความก้าวร้าว แต่ในขณะเดียวกันความคาดหวังจากสังคมว่า เพศหญิงจะต้องนุ่มนวลและเรียบร้อยกว่า ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กไม่น้อย เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ลักษณะก้าวร้าวในเพศชายที่มากกว่าจะปรากฏชัดขึ้น โดยดูจากสถิติอาชญากรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ด้วยน้ำมือของผู้ชาย แต่เป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อพบว่า หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภายในครอบครัวแล้ว สถิติของคดีสามีทำร้ายภรรยาหรือภรรยาทำร้ายสามีมีมากพอๆ กันแสดงว่าหากเป็นเรื่องนอกบ้านเพศหญิงไม่อยากยุ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องในบ้านแล้วละก็เห็นจะยอมกันยากสักหน่อย มีการสงสัยว่าฮอร์โมนเพศชายจะเป็นตัวก่อให้เกิดความก้าวร้าว ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียเมื่อประมาณ 60-70 ปีก่อน เคยมีการลงโทษโดยการตอนผู้ชายที่ก่อคดีรุนแรง โดยเฉพาะคดีทางเพศ พบว่าวิธีนี้สามารถลดความก้าวร้าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเคยมีการทดลองให้ฮอร์โมนเพศหญิงกับผู้ชายที่ก่อคดีก้าวร้าว พบว่าสามารถลดความก้าวร้าวลงได้มากเช่นกัน แสดงว่าฮอร์โมนเพศชายเกี่ยวข้องกับความก้าวร้าวจริงๆ อย่างไรก็ตาม พบว่าบางช่วงเวลาเพศหญิงก็ก้าวร้าวไม่น้อยเหมือนกัน เช่น ในช่วงวันก่อนมีรอบเดือน ผู้หญิงจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด และมีโอกาสก้าวร้าวเพิ่มขึ้นกว่าช่วงอื่นๆ อาจเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย มีอาการไม่สบายเนื้อสบายตัวบางอย่างบวกกับความรู้สึกรำคาญ จึงเป็นเหตุให้จิตใจถูกระทบกระทั่งได้ง่าย มีรายงานทางวิชาการเมื่อสิบกว่าปีก่อน แสดงถึงสถิติอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก โดยผู้รายงานเป็นฝรั่งและชาวญี่ปุ่น ได้ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะมีความก้าวร้าวในสังคมต่ำมาก และเสนอเหตุผลว่า
ประการแรก ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเป็นชนชาติเดียวกัน เป็นส่วนใหญ่ ประเทศอื่นๆ ส่วนมากมีประชากรหลายชนชาติหลายเผ่า ทำให้ภาษา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกันไป ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจความขัดแย้ง และความก้าวร้าวตามมาได้โดยง่าย
ประการที่สอง ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติมาก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และพายุจากทะเล ทำให้ประประชาชนต้องร่วมมือกันเพื่อต่อสู้ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นเหตุให้เกิดความรักความสามัคคีต่อกันมาก
ประการที่สาม โดยเฉลี่ยญี่ปุ่นมีการจัดระเบียบ ภายในหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ ดีมากทำให้เกิดความขัดแย้งกันน้อย
และประการสุดท้าย การเลี้ยงดูบุตรของชาวญี่ปุ่น จากยุคโบราณมีลักษณะพิเศษ เด็กจะได้รับความอบอุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดมารดามาก โดยมารดาจะเอาลูกผูกโอบไว้ที่หลัง ในเวลาทำงานหรือไปไหนมาไหนเด็กจึงไม่ถูกทอดทิ้งไว้นาน เมื่อหิว และเด็กจะนอนกับพ่อแม่จนกระทั่งโต มีการลงโทษ และตำหนิน้อยมาก แต่จะใช้วิธีล่อใจด้วยของเล่นหรือขนมหวาน ทำให้เด็กกระดากอายกับพฤติกรรมไม่ดีของตัวเอง เมื่อเด็กโตขึ้นจะควบคุมความก้าวร้าวได้ดีเพราะกลัวทำให้ครอบครัว และพ่อแม่ขายหน้า อย่างไรก็ตามรายงานเรื่องนี้ผ่านมาแล้วสิบกว่าปี เชื่อว่าในปัจจุบันสังคมญี่ปุ่นคงเปลี่ยนไปไม่น้อย โอกาสที่เด็กญี่ปุ่นจะได้เติบโตบนหลังของมารดาอย่างเมื่อก่อนคงมีไม่มาก ถึงแม้ว่ารายงานนี้จะไม่ใหม่นักแต่ก็มีหลายๆ จุดที่น่าสนใจเช่น การที่เด็กได้รับความอบอุ่นมากเป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งทำให้เด็กโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความก้าวร้าวน้อย การให้รางวัลโดยใช้ของเล่นหรือขนมล่อใจเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี จะได้ผลดีกว่าการลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดี ประการสุดท้าย คือ ความเป็นชนชาติเดียวกันภายในประเทศ เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งช่วยป้องกันการเกิดความขัดแย้งและความก้าวร้าว ทำให้ย้อนกลับมามองประเทศของเราเองซึ่งมีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา หรือแม้แต่ผู้ที่ถือเชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธซึ่งเป็นคนส่วนมาก ก็ยังมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ยกตัวอย่างภาษาที่ต่างกันของชาวเหนือ ชาวอีสานและคนภาคกลาง เพราะฉะนั้นการจะเปลี่ยนให้คนทั้งชาติ กลายเป็นชนชาติเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องแก้ด้วยการช่วยกันสร้างความรู้สึกให้เกิดขึ้นว่า เป็นคนไทยด้วยกันใต้ผืนธงเดียวกันซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน การลดความก้าวร้าวทางอื่น ต้องดูจากสาเหตุหลายประการ ที่ได้กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น สาเหตุบางประการเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราแก้ไขสาเหตุทางพันธุกรรมไม่ได้ และเราบังคับให้ฮอร์โมนเพศหญิงกับผู้ชายเพื่อหวังให้ผู้ชาย ลดความก้าวร้าวลงไม่ได้ ด้วยว่าจะมีแต่ผู้ชายตุ้งติ๋งเต็มไปหมด จึงเหลือปัจจัยที่พอจะแก้ไขได้คือ ลดการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง และช่วยกันเปลี่ยนค่านิยมของการดื่มแอลกอฮอล์เสีย สร้างความรัก ความปองดองภายในครอบครัวให้มีมากขึ้น โดยผู้ปกครองจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตของครอบครัวให้ดีพอ หนทางสุดท้ายในการลดความก้าวร้าวคือ สามารปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา เช่น พรหมวิหารสี่ของพุทธศาสนา ที่ว่าด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือคำสอนของชาวคริสต์ว่า จงรักศัตรูของท่านหากถูกตบแก้มขวา จงเอียงแก้มซ้ายให้เขาตบอีก
แล้วเราคงได้เห็นรอยยิ้มกว้างให้แก่กันมากๆ มาทดแทนภาพคนที่กำลังตาขวาง กำหมัด กัดฟัน หรือเม้มปากจนหนวดกระดิก

Read More

หญิงกับชาย...ใครร้ายกว่ากัน

คนที่กำลังโกรธมักจะตาขวาง พูดหยาบคาย เสียงดัง กำหมัด กัดฟัน หรือตัวสั่น ผู้ชายที่มีหนวดยาวสักหน่อย อาจโกรธจนหนวดกระดิก คนผิวขาวแบบฝรั่งหรือชาวญี่ปุ่น อาจโกรธจนหน้าแดง เรียกว่า เลือดขึ้นหน้า ส่วนคนผิวดำเวลาโกรธเลือดขึ้นหน้าเหมือนกัน แต่สีหน้าจะแดงไม่ชัด หากเห็นคนผิวคล้ำกำลังโกรธ อย่าไปจ้องมองว่าหน้าเขาเป็นสีอะไร เพราะอาจโดนเจ้าของใบหน้ายกหมัดทิ่มตาขี้สงสัยจนบวม หมดโอกาสดูสีหน้าใครๆ ไปอีกหลายวัน ความโกรธ ความก้าวร้าวหรือโทสะ จัดเป็นหนึ่งในสามของกิเลสตัวร้ายทางพุทธศาสนา เป็นยาพิษขนานเอกที่คอยกัดกร่อนจิตใจให้เป็นทุกข์อย่างไม่รู้จบสิ้น นอกจากจะทำให้ตนเองไม่มีความสุขแล้ว ยังพลอยทำให้คนแวดล้อมอยู่อย่างไม่สงบไปด้วย ความก้าวร้าวเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนป่วยทางจิตใจ และพบได้บ่อยพอๆ กับการแสดงความรัก ความห่วงใยต่อกัน ความก้าวร้าวอย่างรุนแรง เช่น

ฆาตกรรม การข่มขืน การประท้วงอย่างไม่สงบ การทำทารุณกรรมกับเด็กหรือผัวเมียตีกัน เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ความเจริญทางวัตถุทำให้เรามีความเป็นอยู่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันความแออัดบวกกับการแข่งขันกันเพื่อปากท้อง ซึ่งติดตามความเจริญมาด้วย ก่อให้เกิดความเครียด อันเป็นสาเหตุประการหนึ่งของความก้าวร้าว นอกจากความเครียด ความหนาแน่นของประชากร และความแออัดของฝูงชนแล้ว ยังมีสาเหตุอีกหลายประการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวขึ้น ได้แก่สถานการณ์บางอย่าง เช่น พบคนที่เกลียด ถูกทำให้เจ็บปวด การแข่งขัน หรือถูกแย่งตำแหน่ง การเสียหน้า ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม เห็นผู้อื่นกระทำสิ่งที่ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ ทำเพื่อปกป้อง การแย่งชิงเพศตรงข้าม หรือต้องการแสดงความเหนือว่า คนส่วนหนึ่งโดยเฉพาะผู้ใหญ่จะแสดงความก้าวร้าว กับคนในครอบครัวมากกว่าคนที่ไม่คุ้นเคย ส่วนวัยรุ่นจะก้าวร้าวกับคนแปลกหน้าค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะวัยรุ่นยังมีประสบการณ์น้อย จึงก้าวร้าวกับคนอื่นโดยไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้เรียนรู้ว่าการแสดงความก้าวร้าว เป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ต้องการ จึงพยายามควบคุมเอาไว้ และสามารถทำได้กับคนแปลกหน้า แต่เมื่ออยู่กับคนในครอบครัว กลับไม่สามารถควบคุมเอาไว้ได้ คนที่โตมากับครอบครัวซึ่งมักแสดงความก้าวร้าวต่อกัน มีแนวโน้มเป็นคนก้าวร้าว อธิบายว่า เป็นผลจากกรรมพันธุ์พฤติกรรมเลียนแบบ และการเลี้ยงดูโดยมีการส่งเสริมพฤติกรรมก้าวร้าว อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดซ้ำๆ เช่น ผู้ใหญ่คอยส่งเสียงเชียร์เด็กที่ถือไม้ไล่ตีแมว เมื่อเด็กตีถูกผู้ใหญ่ก็ส่งเสียงเฮ! ลั่น ตบไม้ตบมือชอบใจและชมเด็กว่าเก่ง เด็กจะเรียนรู้อย่างผิดๆ ว่า สิ่งที่ตนเองกำลังทำเป็นสิ่งดี เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และจะทำซ้ำอีกเมื่อมีโอกาส นอกจากนั้นลักษณะครอบครัวที่ไม่ปรองดองกัน ครอบครัวแตกแยกโดยพ่อแม่แยกทางกันหรือหย่าร้าง มีการเสียชีวิตย้ายที่อยู่บ่อยมาก มีการทำทารุณกรรมเด็ก หรือผู้ปกครองติดสุราก็ทำให้เด็กมีแนวโน้มก้าวร้าวได้เมื่อโตขึ้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวชักนำให้เกิดความก้าวร้าว ได้อย่างร้ายกาจ พบว่าผู้ก่อคดีต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่ง ได้ดื่มสุราเข้าไปก่อนก่ออาชญากรรมทั้งสิ้น ความจริงแล้วการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยๆ ทำให้เกิดความรู้สึกครึ้มหรืออารมณ์ดีได้ น่าเสียดายที่คนจำนวนมากมิได้หยุดดื่มเพียงแค่นั้น แต่กลับดื่มมากจนกระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวขึ้น ทั้งนี้เพราะแอลกอฮอล์จะลดความยับยั้งชั่งใจ ทำให้การควบคุมอารมณ์ไม่ดีพอ การตัดสินใจเรื่องต่างๆ จึงเสียไป สารเสพติดและยาบางชนิดก็ทำให้เกิดความก้าวร้าวได้ โดยกลไกที่คล้ายๆ กัน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นสาเหตุของความก้าวร้าวได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ได้ยินบ่อยๆ ได้แก่ ความโมโหหิวในนิยายพื้นบ้านเรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคลมชัก ปัญญาอ่อน โรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน (AFFECTIVE DISORDERS) และอีกหลายโรคเป็นต้นแหตุของความก้าวร้าวได้ในบางช่วงของอาการ นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมบางอย่างสามารถกระตุ้น ให้เกิดความก้าวร้าวขึ้นได้ เช่น ความร้อน การมีอาวุธอยู่ใกล้หรือในมือ โดยเฉพาะปืน ตัวอย่างเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" เป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดี สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความก้าวร้าว และนำไปสู่ชื่อเรื่อง "หญิงกับชาย...ใครร้ายกว่ากัน" ได้แก่เพศที่แตกต่างกัน เด็กผู้ชายมักก้าวร้าวมากกว่าเด็กผู้หญิง เห็นได้ว่าเด็กผู้ชายจะเล่นรุนแรงมีลักษณะในทางทำลายของ วิ่งและกระโดดมากกว่าเด็กผู้หญิง เพศที่ต่างกันอาจเป็นตัวกำหนดการเกิดความก้าวร้าว แต่ในขณะเดียวกันความคาดหวังจากสังคมว่า เพศหญิงจะต้องนุ่มนวลและเรียบร้อยกว่า ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กไม่น้อย เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ลักษณะก้าวร้าวในเพศชายที่มากกว่าจะปรากฏชัดขึ้น โดยดูจากสถิติอาชญากรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ด้วยน้ำมือของผู้ชาย แต่เป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อพบว่า หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภายในครอบครัวแล้ว สถิติของคดีสามีทำร้ายภรรยาหรือภรรยาทำร้ายสามีมีมากพอๆ กันแสดงว่าหากเป็นเรื่องนอกบ้านเพศหญิงไม่อยากยุ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องในบ้านแล้วละก็เห็นจะยอมกันยากสักหน่อย มีการสงสัยว่าฮอร์โมนเพศชายจะเป็นตัวก่อให้เกิดความก้าวร้าว ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียเมื่อประมาณ 60-70 ปีก่อน เคยมีการลงโทษโดยการตอนผู้ชายที่ก่อคดีรุนแรง โดยเฉพาะคดีทางเพศ พบว่าวิธีนี้สามารถลดความก้าวร้าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเคยมีการทดลองให้ฮอร์โมนเพศหญิงกับผู้ชายที่ก่อคดีก้าวร้าว พบว่าสามารถลดความก้าวร้าวลงได้มากเช่นกัน แสดงว่าฮอร์โมนเพศชายเกี่ยวข้องกับความก้าวร้าวจริงๆ อย่างไรก็ตาม พบว่าบางช่วงเวลาเพศหญิงก็ก้าวร้าวไม่น้อยเหมือนกัน เช่น ในช่วงวันก่อนมีรอบเดือน ผู้หญิงจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด และมีโอกาสก้าวร้าวเพิ่มขึ้นกว่าช่วงอื่นๆ อาจเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย มีอาการไม่สบายเนื้อสบายตัวบางอย่างบวกกับความรู้สึกรำคาญ จึงเป็นเหตุให้จิตใจถูกระทบกระทั่งได้ง่าย มีรายงานทางวิชาการเมื่อสิบกว่าปีก่อน แสดงถึงสถิติอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก โดยผู้รายงานเป็นฝรั่งและชาวญี่ปุ่น ได้ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะมีความก้าวร้าวในสังคมต่ำมาก และเสนอเหตุผลว่า
ประการแรก ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเป็นชนชาติเดียวกัน เป็นส่วนใหญ่ ประเทศอื่นๆ ส่วนมากมีประชากรหลายชนชาติหลายเผ่า ทำให้ภาษา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกันไป ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจความขัดแย้ง และความก้าวร้าวตามมาได้โดยง่าย
ประการที่สอง ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติมาก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และพายุจากทะเล ทำให้ประประชาชนต้องร่วมมือกันเพื่อต่อสู้ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นเหตุให้เกิดความรักความสามัคคีต่อกันมาก
ประการที่สาม โดยเฉลี่ยญี่ปุ่นมีการจัดระเบียบ ภายในหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ ดีมากทำให้เกิดความขัดแย้งกันน้อย
และประการสุดท้าย การเลี้ยงดูบุตรของชาวญี่ปุ่น จากยุคโบราณมีลักษณะพิเศษ เด็กจะได้รับความอบอุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดมารดามาก โดยมารดาจะเอาลูกผูกโอบไว้ที่หลัง ในเวลาทำงานหรือไปไหนมาไหนเด็กจึงไม่ถูกทอดทิ้งไว้นาน เมื่อหิว และเด็กจะนอนกับพ่อแม่จนกระทั่งโต มีการลงโทษ และตำหนิน้อยมาก แต่จะใช้วิธีล่อใจด้วยของเล่นหรือขนมหวาน ทำให้เด็กกระดากอายกับพฤติกรรมไม่ดีของตัวเอง เมื่อเด็กโตขึ้นจะควบคุมความก้าวร้าวได้ดีเพราะกลัวทำให้ครอบครัว และพ่อแม่ขายหน้า อย่างไรก็ตามรายงานเรื่องนี้ผ่านมาแล้วสิบกว่าปี เชื่อว่าในปัจจุบันสังคมญี่ปุ่นคงเปลี่ยนไปไม่น้อย โอกาสที่เด็กญี่ปุ่นจะได้เติบโตบนหลังของมารดาอย่างเมื่อก่อนคงมีไม่มาก ถึงแม้ว่ารายงานนี้จะไม่ใหม่นักแต่ก็มีหลายๆ จุดที่น่าสนใจเช่น การที่เด็กได้รับความอบอุ่นมากเป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งทำให้เด็กโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความก้าวร้าวน้อย การให้รางวัลโดยใช้ของเล่นหรือขนมล่อใจเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี จะได้ผลดีกว่าการลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดี ประการสุดท้าย คือ ความเป็นชนชาติเดียวกันภายในประเทศ เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งช่วยป้องกันการเกิดความขัดแย้งและความก้าวร้าว ทำให้ย้อนกลับมามองประเทศของเราเองซึ่งมีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา หรือแม้แต่ผู้ที่ถือเชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธซึ่งเป็นคนส่วนมาก ก็ยังมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ยกตัวอย่างภาษาที่ต่างกันของชาวเหนือ ชาวอีสานและคนภาคกลาง เพราะฉะนั้นการจะเปลี่ยนให้คนทั้งชาติ กลายเป็นชนชาติเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องแก้ด้วยการช่วยกันสร้างความรู้สึกให้เกิดขึ้นว่า เป็นคนไทยด้วยกันใต้ผืนธงเดียวกันซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน การลดความก้าวร้าวทางอื่น ต้องดูจากสาเหตุหลายประการ ที่ได้กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น สาเหตุบางประการเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราแก้ไขสาเหตุทางพันธุกรรมไม่ได้ และเราบังคับให้ฮอร์โมนเพศหญิงกับผู้ชายเพื่อหวังให้ผู้ชาย ลดความก้าวร้าวลงไม่ได้ ด้วยว่าจะมีแต่ผู้ชายตุ้งติ๋งเต็มไปหมด จึงเหลือปัจจัยที่พอจะแก้ไขได้คือ ลดการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง และช่วยกันเปลี่ยนค่านิยมของการดื่มแอลกอฮอล์เสีย สร้างความรัก ความปองดองภายในครอบครัวให้มีมากขึ้น โดยผู้ปกครองจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตของครอบครัวให้ดีพอ หนทางสุดท้ายในการลดความก้าวร้าวคือ สามารปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา เช่น พรหมวิหารสี่ของพุทธศาสนา ที่ว่าด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือคำสอนของชาวคริสต์ว่า จงรักศัตรูของท่านหากถูกตบแก้มขวา จงเอียงแก้มซ้ายให้เขาตบอีก
แล้วเราคงได้เห็นรอยยิ้มกว้างให้แก่กันมากๆ มาทดแทนภาพคนที่กำลังตาขวาง กำหมัด กัดฟัน หรือเม้มปากจนหนวดกระดิก

Read More