Saturday, March 28, 2009

บทที่๑๗ ตัวย่อของกนกตามลำดับ


บทที่๑๗

ตัวย่อของกนกตามลำดับ


  • การที่จะผูกลายหรือประดิษฐ์ลาย จำเป็นต้องรู้จักเขียนตัวย่อ ของกนกที่เล็กที่สุดจนถึงตัวที่ใหญ่ขึ้นไปด้วย เพราะว่าการผูกลายนั้น ถ้าเขียนตัวกนกหรือกาบลายมีขนาดเท่ากันไปหมดทุกตัวแล้ว ก็จะไม่เป็นลายที่งาม ลายที่งามจะต้องมีจังหวะมีระยะตัวกนกเล็กบ้างโตบ้าง กาบก็เช่นเดียวกัน ต้องมีเล็ก มีโต มีแบ่งสอง แบ่งสาม สุดแต่ลายที่เขียนนั้นมีเนื้อที่เล็กหรือใหญ่ถ้ามีเนื้อที่ใหญ่ ก้จะผูกลายได้งามเพราะจะได้แสดงวิธีแบ่งตัวต่างๆได้หลายอย่าง(ตามภาษลายเรียกว่า มีลูกเล่นมาก) ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถของผู้เขียน ฉะนั้นการย่อหรือการขยายตัวลายนี้ จัดว่าเป็นสำคัญอย่างหนึ่ง

    • แบบที่ ๑ ย่อและขยายกาบซ้อน จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๒ ย่อและขยายไส้ขมวด จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๓ ย่อและขยายตัวใบเทศ
  • วิธีเขียนย่อหรือขยายลายนี้ จะเป็นกนกชนิดก็เขียนเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าเป็นกนกหัวกลับ และกนกผักกูด(กนกเขมร)ก็ใช้ยอดขมวด
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai17.htm



    0 comments: