Saturday, March 28, 2009

บทที่๑๘ ลายหน้ากระดาน


บทที่๑๘

ลายหน้ากระดาน


  • ลายหน้ากระดานเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา จะต่อกันได้เรื่อยๆไปไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อต่อกันไปพอกับความต้องการแล้ว จะหยุดต้องใส่ตัวห้าม ตัวห้ามนี้คือตัวประจำยามนั่นเองแต่เขียนให้โตกว่าตัวลายที่ประกอบอยู่ในลายหน้ากระดาน หรือจะใช้กระจังหูห้ามก็ได้ แล้วแต่ลักษณะของลายที่เขียน ควรจะใช้อย่างใดห้าม
    แบบที่ ๑ เป็นลายหน้ากระดาน ประจำยามก้ามปู ก้ามปูคือมีตัวประจำยามอยู่กลางและมีกนกติดอยู่ทั้งสองข้าง และมีตัวประจำยามคั่น รวมเรียกว่า "ลายประจะยามก้ามปู"เป็นลายที่ใช้ในรูปจำกัด จะต้องมีจังหวะที่เขียนตัวประจำยามและก้ามปูได้พอเหมาะกับเนื้อที่

  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๒
    แบบ๒ เป็นลายหน้ากระดาน ลูกฟักก้ามปู ลูกฟักคือ มีตัวประจำยาม และต่อด้วยกระจังใบเทศทั้งสองข้าง เป็นตัวคั่นระหว่างก้ามปู รวมเรียกว่า "ลายลูกฟักกามปู"เป็นลายที่ขยายให้ยาวต่อไปอีก เป็นลายที่ไม่จำกัดเนื้อที่ใช้ได้ตามความพอใจ
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๓
    แบบ ๓ เป็นลายก้านแบ่ง มีตัวประจำยามคั่นเป็นที่ออกลายและเป็นที่ห้ามลายไปในตัวมันเอง ระหว่างตัวประจำยาม มีเถาลายและกนกยอดสลับกัน รวมเรียกว่า"ลายประจำยามก้านแย่ง"เป็นลายที่ขยายเนื้อที่มากกว่าลายประจำยามก้ามปู ลายประจำยามก้านแย่งมีวิธีเขียนหลายอย่าง
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๔
      ลายหน้ากระดานทั้งสามแบบนี้ แสดงถึงการใช้เนื้อที่วางจังหวะตัวประจำยามต่างกันลายหน้ากระดานมีอยู่มากด้วยกันหลายชนิด เรียกชื่อต่างๆกันเป็นลายช่วยประกอบกับลายอื่น และจะใช้เฉพาะตัวเองของมันก็ได้ เช่นเขียนลายกรอบรูปจะเป็นรูปสี่เหลี่มหรือรูปวงกลม จะเอาลายหน้ากระดานมาใช้ก็ได้

    หมายเลข ๑ ลายประจำยามก้ามปู ๒ ลายประจำยามแก้มแย่ง ๓ ลายลูกฟักก้ามปู

ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai18.htm

0 comments: