Saturday, March 28, 2009

บทที่๒๔ วิธีต่อลาย



บทที่๒๔

วิธีต่อลาย


  • การเขียนลายหรือผูกลายไทย ให้เป็นเถาต่อกันไปได้นั้น ก็เอากาบและตัวกนกวางติดต่อสลับกันไป ใช้ตัวกนกเล็กบ้างโตบ้าง กาบก็ทำเช่นเดียวกัน ให้มีกาบเดี่ยวกาบคู่เอาตัวกนกอยู่ติดกัน ต้องพยายามให้กาบหรือตัวกนกที่ไม่เหมือนกันเอามาใช้ เมื่อถึงตอนสุดยอดของขด หรือสุดยอดของเถา ก็ใช้ตัวยอดหรือตัวกนกใส่การต่อลายนี้ ก็คือการฝึกหัดผูกลายนั่นเอง แต่ขั้นต้นต้องทำวิธีนี้ก่อน เพื่อการใช้จะได้คล่องแคล่ว และเป็นการฝึกหัดไปในตัวด้วย.
    • ต่อลายแบบหนึ่ง แสดงการใช้กาบเดี่ยว การซ้อนตัวกนกและตัวยอดสลับกันและแบ่งตัวต่างกันเป็นเถาโค้ง
    • ต่อลายแบบสอง แสดงการต่อเถาปลายเปลว มีกาบกนกนกคาบและตัวกนกเปลวต่อ สลับกันเป็นลายเปลวเถาเลื้อย
    • ต่อลายแบบสาม แสดงการต่อลายเถาเลื้อยกนกสามตัว มีกาบเดี่ยว,กาบซ้อน,นกคาบ,ตัวกนกตัวเล็ก ตัวโตแบ่งเต็มตัว
    • ต่อลายแบบสี่ ต่อเป็นลายก้านขด กนกสามตัว มีตัวกนกเล็กโต,ยอดลาย,กาบและนกคาบครบถ้วน
      วิธีต่อลายทั้งสี่อย่างนี้ เมื่อต้องการดูให้ลายติดต่อกัน ก็เขียนเส้นที่ขาดให้ต่อกัน.
  • ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/project1/sen49/ai24.htm

    0 comments: